Category Archives: Lab

BIND 9 on FreeBSD 4.x

BIND 9 ?

ที่จริงก็ไม่ได้อยากอัปเกรดเท่าไหร่ แต่ทางศูนย์คอมพิวเตอร์เขาขอมา เลยจัดให้ :P .. จะว่าไปแล้ว BIND 9 ก็น่าสนใจตรงที่มันใช้ rndc + chroot ได้ และมีความปลอดภัยสูงขึ้น .. ถ้าเป็น FreeBSD >= 5.3 เข้าใจว่ามี BIND 9 มาให้เลย ส่วน FreeBSD 4.x และ 5.x < 5.3 นี่ต้องติดตั้งจาก ports เอา

เริ่มติดตั้ง

# cd /usr/ports/dns/bind9
# make
# make install

เซ็ตอัป rndc

rndc ใช้ irq มาทำเป็น entropy pool ยิ่งอุปกรณ์มีข้อมูลเข้า/ออก random มากๆ ยิ่งดี เขาแนะนำให้ใช้ irq ของ keyboard, mouse, disk, หรือ network interface cards .. ผมไม่ค่อยแนะนำให้ใช้ keyboard/mouse เท่าไหร่ เพราะพวกเซิร์ฟเวอร์หลายๆ ตัวไม่ได้ต่อไว้ด้วยซ้ำ ข้อมูลอาจจะไม่ random อย่างที่ต้องการ .. เลือก disk หรือ network interface cards น่าจะดีกว่า

# grep -i irq /var/run/dmesg.boot

เพิ่ม irq เป็น entropy pool ของ rndc

# rndcontrol -s 12
# rndcontrol -s 14

ถ้าจะให้ใช้ได้ตั้งแต่ boot ก็แก้ /etc/rc.conf เพิ่ม

rand_irqs="12 14"

จากนั้นก็สร้าง config ของ rndc

cd /usr/local/etc
rndc-confgen > rndc.conf

แล้วก็สร้าง key

rndc-confgen -a

จะได้ไฟล์ rndc.key แล้วก็แก้ rndc.conf อีกนิดหน่อย เพื่อเอา key ใน rndc.key มาใส่

vi /usr/local/etc/rndc.conf

options {
     default-key "rndc-key";
    default-server 127.0.0.1;
    default-port 953;
};

server 127.0.0.1 {
    key "rndc-key";
}

ก๊อป key “rndc-key” {…} จาก /usr/local/etc/rndc.key มาใส่ใน /usr/local/etc/rndc.conf เป็นอันเสร็จเรื่องของ rndc

เซ็ตอัพ BIND 9

ถ้าใช้ BIND 8 มาก่อน เอา config และ zone files ของ BIND 8 มาแก้นิดๆ หน่อยๆ แล้วใช้กับ BIND 9 เลยก็ได้ ดังนั้น ก๊อปปี้ named.conf ของ BIND 8 มาไว้ที่ /usr/local/etc/named.conf แล้วก็แก้อีกนิด เพื่อเอา rndc มาใช้

include "/usr/local/etc/rndc.key";

controls {
    inet 127.0.0.1 allow { 127.0.0.1; } keys { "rndc-key" };
};

และใน options { … } เพิ่ม pid-file ” … ” กับ dump-file ” … ” เข้าไปด้วย

options {
    ...
    directory "/path/to/namedb"
    pid-file "/path/to/namedb/named.pid"
    dump-file "/var/tmp/named_dump.db"
    ...
};

เสร็จแล้ว อย่าลืมเช็ค zone {… } กับ zone file ให้ตรงกัน

แก้ไฟล์เสร็จก็ เปลี่ยน owner/groups ของไฟล์เป็น uid ที่จะรัน named .. ปกติจะใช้ user bind รัน named ก็

chown -R bind:bind /path/to/namedb
chmod 750 /path/to/namedb

เช็ค named.conf

named-checkconf /usr/local/etc/named.conf

ทดสอบ

/usr/local/sbin/named -c /usr/local/etc/named.conf -u bind -g

ถ้า named รันได้โดยไม่มี error/warning ก็เป็นอันเรียบร้อย … สุดท้ายก็แก้ /etc/rc.conf

vi /etc/rc.conf
named_enable="YES"
named_program="/usr/local/sbin/named"
named_flags="-c /usr/local/etc/named.conf -u bind"

ทีนี้ตอน boot ก็จะรัน BIND 9 แทน BIND 8 .. เสร็จแล้ว :)

ลง MS Windows 2000/XP บน QEMU

มีเหตุต้องใช้ Windows 2000/XP สำหรับเดโมในห้องเรียนพร้อมๆ กับลินุกซ์เลยเอา QEMU มาใช้ .. QEMU เป็นโปรแกรมที่จำลองการทำงานของซีพียูและระบบ ปัจจุบัน QEMU จำลองการทำงานของคอมพิวเตอร์ x86 กับ PowerPC ได้ทั้งระบบ และจำลองซีพียูได้สารพัด ทั้ง x86, x86-64, PowerPC, ARM และ SPARC .. เพราะเป็นการจำลองการทำงานย่อมช้ากว่าระบบจริงๆ อยู่แล้ว แม้จะจำลอง x86 บน x86 จริงๆ ก็ตาม แต่ก็ทนๆ เอา เพราะใช้เป็นครั้งคราวเท่านั้น

ติดตั้ง QEMU

Debian/Ubuntu ติดตั้งผ่าน APT ได้เลย ..

# apt-get install qemu

การทำงานของ QEMU นับถึงเวอร์ชัน 0.7.0 จะใช้ดิสก์อิมเมจในการจำลองเป็นฮาร์ดดิสก์ของระบบ ดังนั้นขอให้มีที่ว่างๆ ในพาร์ทิชันมากพอที่จะใช้เป็นดิสก์อิมเมจก็ใช้งานได้ โดยไม่ต้องแบ่งพาร์ทิชันกันใหม่ .. หาพื้นที่ว่างๆ ให้มากพอจะติดตั้ง Windows 2000 … Windows 2000 ติดตั้ง default ใช้พื้นที่ราวๆ 600-700 MB + เผื่อติดตั้งซอฟต์แวร์อื่นๆ อีกนิดหน่อย ก็สัก 1.5 – 2 GB น่าจะพอ สั่งสร้างดิสก์อิมเมจโดยสั่ง

$ qemu-img create disk.img 2G

คำสั่งนี้จะสร้างดิสก์อิมเมจสำหรับทำงานเสมือนเป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 2 GB .. ทีนี้เริ่มติดตั้ง Windows 2000 ได้โดยใส่แผ่นติดตั้งของ Windows 2000 ไว้ใน CDROM แล้วสั่ง

$ qemu -hda disk.img -cdrom /dev/cdrom -boot d

คำสั่งนี้เป็นการสั่ง qemu ให้จำลองคอมพิวเตอร์ x86 ทั้งระบบโดย

-hda disk.img เป็นการบอกให้ QEMU ใช้ไฟล์ disk.img เป็น Primary Master IDE disk หรือ ไดรว์ C:

-cdrom /dev/cdrom เป็นการบอกให้ QEMU จำลอง CDROM โดยใช้ /dev/cdrom CDROM จะเป็น Secondary Master หรือ ไดรว์ D: เสมอ

-boot d เป็นการสั่งให้ boot จาก CDROM

ทีนี้ QEMU ก็จะเริ่มต้นจำลองระบบ x86 แล้วก็ boot จาก CDROM ขั้นตอนที่เหลือก็จะเหมือนกับการติดตั้ง Windows 2000 ทั่วๆ ไป

First Boot !

หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว ทีนี้เราก็สามารถสั่ง

$ qemu -hda disk.img -cdrom /dev/cdrom -boot c

เพื่อบูต Windows 2000 ที่ติดตั้งไปตะกี้ .. ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้ CDROM ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ออปชัน -cdrom /dev/cdrom ก็ได้

ลองดู System Properties/Hardware กับ Device Manager ก็ได้รายละเอียดออกมาประมาณนี้

CPU: x86 Family 6 Model 3 Stepping 3 ~ Pentium II 233 MHz
Chipset: Intel 441FX
Bus: PCI
Display: Cirrus Logic 5446
Disk: IDE
CDROM: IDE
NIC: RealTek 8029 Ethernet NE2000 Compatible

มี NICs ก็ย่อมจะใช้งานเครือข่ายได้ :)

Networking

QEMU จำลองการเชื่อมต่อเครือข่ายโดยใช้ Tunnel Inteface เชื่อมเข้ากับ NICs ที่จำลองขึ้นมา ถ้าจะให้ Windows 2000 หรือ OS อะไรก็ตามบน QEMU ใช้งานเครือข่ายได้ ก็ต้องทำให้ลินุกซ์สนับสนุน TUN/TAP ก่อน เคอร์เนลส่วนใหญ่จะคอมไพล์ให้ TUN/TAP เป็น modules ไว้อยู่แล้ว ก็จะสามารถสั่ง

# modprobe tun

แล้วลอง

$ ifconfig tun0

ถ้า ifconfig แสดงข้อมูลของอินเทอร์เฟซ tun0 ขึ้นมาก็ถือว่าใช้งาน tunnel ได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการใช้ QEMU ด้วย non-root accout อาจจะต้องแก้ group / permission ของ /dev/net/tun สักหน่อย เพื่อให้ผู้ใช้ใน group users สามารถอ่านเขียนผ่าน TUN ได้

# chgrp users /dev/net/tun
# chmod 660 /dev/net/tun

อาจจะมีบางกรณีที่ ifconfig tun0 แล้วได้ error ขึ้นมา แม้จะเป็น root แล้วก็ไม่สามารถใช้งาน /dev/net/tun ได้ แบบนี้ก็มีทางแก้โดยใช้โปรแกรม tunctl ซึ่งเป็นหนึ่งในชุด utilities ของ UML (User-Mode Linux นะ ไม่ใช่ Unified Modeling Language) ..

# apt-get install uml-utilities

ทุกครั้งที่จะใช้ tunnel ก็ใช้ tunctl ในการควบคุมการใช้งาน เช่น

# tunctl -u 'user' -t tun

คำสั่งนี้จะสร้างอินเทอร์เฟซ tun0 และกำหนด owner เป็นให้เป็น username ‘user’ ลอง ifconfig tun0 อีกที หนนี้ไม่ควรจะเกิด error แล้ว (ถ้ายังเกิดอีกก็ตัวใครตัวมัน)

หลังจากมีอินเทอร์เฟซ tun0 แล้วทีนี้ก็ลองรัน QEMU อีกที QEMU มันควรจะรายงานว่า Connected to host network interface: tun0 ถ้าได้ตามนี้ก็เป็นอันว่า OS ใน QEMU จะพร้อมเชื่อมออกอินเทอร์เน็ตได้แล้ว ให้ตั้ง IP ของ OS ใน QEMU ให้อยู่ในเครือข่ายเดียวกับ tun0, e.g. 172.20.0.2 และตั้ง gateway ไปที่ IP ของ tun0

ขั้นสุดท้ายก็คือทำ NAT โดยใช้สี่คาถาหากิน

# iptables -t nat -A POSTROUTING -o eth0 -j MASQUERADE
# iptables -A INPUT -i eth0 -m state --state NEW,INVALID -j DROP
# iptables -A FORWARD -i eth0 -m state --state NEW,INVALID -j DROP
# echo 1 > /proc/sys/net/ipv4/ip_forward

OS ใน QEMU ก็จะใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ :)

เร่งการทำงานด้วย KQEMU

การทำงานของ QEMU ทำงานช้าเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน ส่วนนึงเป็นเพราะต้องจำลองการทำงานส่วนการจัดการหน่วยความจำ .. ถ้าถ้าสามารถใช้ชุดคำสั่ง native ในการจัดการหน่วยความจำได้ ก็จะทำให้ QEMU ทำงานได้เร็วขึ้นพอสมควรทีเดียว .. ด้วยเหตุนี้ผู้่พัฒนา QEMU เลยพัฒนา KQEMU เพิ่มขึ้นมาเป็น accelerator สำหรับ QEMU .. KQEMU เป็นเคอร์เนลโมดูลที่ช่วยให้ QEMU ใช้จัดการหน่วยความจำโดยใช้คำสั่ง native ของ x86 จริงๆ โดยไม่ต้องจำลองชุดคำสั่งบน QEMU ผลที่ได้จึงทำให้การจำลองระบบ x86 บนซีพียู x86 ทำงานได้เร็วขึ้น .. ข้อเสียของ KQEMU คือ 1. ต้อง compile QEMU + KQEMU เอง และ 2. ใช้งานกับ x86 ได้เท่านั้น .. วิธีการคือ ดาวน์โหลด ซอร์ส ของ QEMU และ KQEMU มา จากนั้นแตก src ของ QEMU ก่อน แล้วค่อยแตก src ของ KQEMU ภายในไดเรคทอรีของ QEMU

$ tar xzf qemu-0.7.1.tar.gz
$ cd qemu-0.7.1
$ tar xzf ../kqemu-0.7.1.tar.gz

แล้วค่อย

$ ./configure
$ make
$ sudo make install

QEMU จะติดตั้งลงใน /usr/local/* และติดตั้ง kernel modules ลงใน /lib/modules//misc/

การใช้งาน kqemu ก่อนอื่น ต้องสั่งโหลดเคอร์เนลโมดูล as root :

# modprobe kqemu major=0

จะได้ /dev/kqemu โผล่ขึ้นมา .. แก้ permission เป็น 666

# chmod 666 /dev/kqemu

ก็เป็นอันเรียบร้อย ทีนี้ก็เรียกใช้ qemu ตามปกติ โปรแกรมจะเรียกใช้งาน KQEMU ซึ่งควรจะทำงานได้เร็วขึ้น

ถ้าไม่อยากมานั่งแก้ permission ทุกครั้งที่สั่ง modprobe ก็ใช้ udev ช่วยได้ สำหรับ Ubuntu ให้สร้างไฟล์ /etc/udev/permission.d/kqemu.permissions ตามนี้

# kqemu
kqemu:root:root:0666

จะทำให้เวลา modprobe kqemu แล้ว udev จะสร้าง dev เป็น permission 666 อัตโนมัติ

Conclusions

สรุปแล้ว QEMU ก็ช่วยให้ติดตั้ง Windows 2000/XP ได้ตามที่ต้องการ .. บนเครื่อง Athlon XP 2000+ ตอบสนองการสั่งงานได้เร็วใช้ได้ ส่วนบน P-III 1 GHz ช้าไปหน่อย ช้าจนเซอร์วิสบางตัวของ Windows 2000 บางตัวไม่สามารถ startup ได้ในเวลาที่กำหนด ..ในกลุ่มซอฟต์แวร์ที่ใช้วิธี emulation นี้ถือว่า QEMU นี่เร็วสุดแล้วแหละ .. ถ้าต้องการเร็วกว่านี้ก็คงต้องเลือกใช้พวกที่เป็น virtualization อย่าง Win4Lin หรือ VMWare ซึ่งเป็น commercial .. หรือไม่ก็ xen ซึ่งทดสอบกันมาแล้วว่าทำงานแบบ virtualization ได้เร็วกว่า Win4Lin/VMWare ซะอีก แถมยังเป็นโอเพ่นซอร์สด้วย เท่าที่ลองดูก็น่าสนใจทีเดียว จะติดก็ตรงที่มันต้องทำอะไรกับเคอร์เนลเยอะไปหน่อย เลยไม่ค่อยอยากใช้ .. เห็นผ่านๆ ตาแวบๆ ว่า Ubuntu จะเอา Xen เข้าไปรวมด้วย คาดว่าคงได้เห็น stable ประมาณเวอร์ชัน 6.04 (เป็นอย่างเร็ว).. ถึงเวลานั้นค่อยว่ากันอีกที :P

Ubuntu Customization

ติดตั้ง apache2 + php4 + mysql

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ sudo apt-get install apache2 php4 libapache2-mod-php4 php4-mysql

Config:

/etc/apache2/apache2.conf
/etc/apache2/mods-enabled/php4.conf
/etc/php4/apache2/php.ini
/etc/mysql/my.cnf

Locale ภาษาไทย

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ sudo dpkg-reconfigure locales

เลือก en_US ISO-8859-1, en_US.UTF-8 UTF-8, th_TH TIS-620 และ th_TH.UTF-8 UTF-8

ตั้งคีย์บอร์ดภาษาไทย

System -> Preferences -> Keyboard
Layouts -> Add ... -> Thai (Kedmanee) -> OK
Layout Options -> Group Shift/Lock behavior -> Alt+Shift changes group

ฟอนต์ภาษาไทย

  1. ดาวน์โหลดฟอนต์ TrueType ภาษาไทยจาก LTN ไฟล์ thai-ttf-x.x.x.tar.gz
  2. แตกไฟล์ thai-ttf-x.x.x.tar.gz
  3. สำเนา / ย้ายฟอนต์ TrueType (*.ttf) ไปไว้ที่ ~/.fonts

แก้ปัญหาตัวอักษรไทยแสดงผลเพี้ยนเมื่อใช้ hinting (autohinting)

auto hinting อาจจะทำให้การแสดงผลตัวอักษรไทยเพี้ยน ปิด auto hinting โดยแก้ในไฟล์ /etc/fonts/local.conf ค้นหาข้อความ “autohint” แก้ bool จาก true เป็น false

TrueType -> X11 Fonts

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ cd /path/to/fonts
$ mkfontdir
$ ttmkfdir > fonts.scale

เพิ่ม font path (/path/to/fonts/) ใน /etc/X11/xorg.conf

เพิ่ม font path ทันที

$ cd /path/to/font
$ xset fp+ `pwd`
$ xset rehash

ติดตั้ง TrueType ด้วย defoma

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ defoma-hints -c --no-question truetype /path/to/fonts/*.ttf > /etc/defoma/hints/myfonts.hints
$ defoma-font reregister-all /etc/defoma/hints/myfonts.hints
$ xset fp rehash

ใช้ bitmap fonts ใน fontconfig

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ cd /etc/fonts/conf.d/
$ sudo ln -sf /etc/fonts/conf.d/yes-bitmaps.conf 30-debconf-yes-bitmaps.conf
$ sudo fc-cache

root shell

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ sudo -s -H

หรือ

$ sudo su -

กรอกรหัสผ่านของ user ให้ sudo

เปลี่ยนรหัสผ่าน root

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ sudo passwd root

กรอกรหัสผ่านของ user ให้ sudo ก่อน จึงตั้งรหัสผ่านของ root

ล็อกอิน GDM ด้วย root

  1. ตั้งรหัสผ่านของ root
  2. System -> Administration -> Login Screen Setup

#แท็บ Security -> Allow root to login with GDM

ควบคุม services

  1. ไฟล์ใน /etc/rc?.d/ เป็น symlink ไป start up scripts ใน /etc/init.d
  2. Symlink name = S??* = run
  3. Symlink name = K??* = not run
  4. ทุก runlevels จะรัน /etc/rcS.d/*
  5. Default runlevel ของ Ubuntu คือ 2 ระบบจะ start up ที่ /etc/rc2.d/

ตั้ง debconf ให้ใช้ GUI

รันเทอร์มินัล

sudo dpkg-reconfigure debconf

เลือก Interface เป็น GNOME หรือ KDE

เลือก Priority ตามต้องการ (Low = ถามเยอะ, Critical = ถามน้อย)

ตั้ง mplayer ให้ใช้ XVideo และ ALSA

ใช้ text editor เปิดไฟล์ ~/.mplayer/config เพิ่มบรรทัด

vo=xv
ao=alsa

ตั้ง Nautilus CD Burner ให้ใช้งาน Burnproof

  1. Applications -> System Tools -> Configuration Editor
  2. apps -> nautilus-cd-burner
  3. เลือก burnproof

ตั้ง Nautilus CD Burner ให้ใช้งาน Overburn

  1. Applications -> System Tools -> Configuration Editor
  2. apps -> nautilus-cd-burner
  3. เลือก overburn

ตั้งอัตราเร็วในการเขียนซีดีสำหรับ Nautilus CD Burner

  1. Applications -> System Tools -> Configuration Editor
  2. apps -> nautilus-cd-burner
  3. แก้ default_speed เป็นค่าที่ต้องการ

ตั้ง Spatial Mode เป็นแบบต้นฉบับของ GNOME

  1. Ubuntu (Hoary) patch Nautilus ให้ spatial mode ทำงานโดยปิดวินโดว์ของไดเรกทอรีเดิมทุกครั้งที่เปิดวินโดว์ใหม่
  2. Applications -> System Tools -> Configuration Editor
  3. apps -> nautilus -> preferences
  4. เลือก no_ubuntu_spatial

ติดตั้ง NVIDIA driver

รันเทอร์มินัล สั่ง

$ sudo apt-get install nvidia-glx nvidia-settings
$ sudo nvidia-glx-config enable

เพิ่ม apt repository

  1. แก้ไฟล์ /etc/apt/sources.list .. หรือ
  2. เพิ่มบน Synaptic: Settings -> Repositories

Config Dial-Up Connection

  1. รัน pppconfig .. and follow the text-based user interface
  2. Authentication method ทดลองใช้ PAP ก่อน ถ้าไม่สามารถ login ได้ ให้ใช้ Chat
  3. Profile จะเก็บไว้ที่ /etc/chatscripts/
  4. รัน pon เพื่อ connect
  5. รัน poff เพื่อ disconnect

แอพพลิเคชันเสริม

ติดตั้งด้วย apt-get หรือ synaptic

Applications Packages
Macromedia Flash plug-in for Mozilla Firefox flashplayer-mozilla
Adobe Acrobat Reader acroread
Adobe Acrobat Reader plug-in for Mozilla Firefox acroread-plugin
Microsoft Core Fonts msttcorefonts
Planner (Project Management) planner
Scribus (Desktop Publishing) scribus
Blender (3D Modeller/Renderer) blender
Inkscape (Vector Drawing) inkscape
Xine xine-ui
Mplayer mplayer-{386|586|686|k6|k7}
Win32 Codec sw32codecs

ควรติดตั้ง recommended packages ด้วย

Digital Photography Workflow

นอกเหนือจากความสะดวกและประหยัดอันเป็นเหตุผลหลักของใครหลายๆ คนในการตัดสินใจซื้อกล้องดิจิทัลมาใช้งานแล้ว อีกหนึ่งเหตุผลที่ใครอีกหลายคนเลือกกล้องดิจิทัลแทนกล้องฟิล์มคือ อิสระในการควบคุมคุณภาพของภาพได้ด้วยตัวเอง ปรับแต่งภาพได้ง่าย .. จริงๆ แล้ว แต่ไหนแต่ไรมาการบันทึกภาพด้วยฟิล์มก็มีการแต่งภาพเหมือนกัน เพียงแต่เราไม่เคยได้สัมผัสเพราะเป็นหน้าที่ของร้านล้างอัดที่จะทำให้ภาพสีสวยสด นอกจากนี้ ร้านล้างอัดบางแห่งจะให้กรอกได้ว่าต้องการล้างอัดแบบใดเป็นพิเศษ เช่น ล้างอัดฟิล์มที่ push/pull กำหนดเวลาแช่น้ำยาได้ หรือใช้น้ำยาข้ามประเภท (cross processing) หรือดีไปกว่านั้น ร้านล้างอัดบางแห่งให้เช่าอุปกรณ์ ห้องมืด แบ่งซื้อน้ำยามาล้างอัดเองได้ .. พอมีกล้องดิจิทัลเราจึงพึ่งพาร้านล้างอัดน้อยลง งานปรับแต่งภาพที่แต่เดิมขึ้นกับร้านล้างอัดก็เปลี่ยนมาเป็นงานของเราไปด้วย .. คนที่เก็บบันทึกภาพด้วยกล้องดิจิทัลจึงหันมาเรียนรู้และทำความรู้จักกับขั้นตอนในการ develop ภาพดิจิทัล – Digital Darkroom / Digital Workflow – มากขึ้น .. จากนี้ไปภาพจะสวยหรือไม่ก็อยู่ที่ตัวเราแล้วล่ะ

Settings

digital workflow ไม่ได้มาเริ่มทำหลังจากได้ภาพแล้ว แต่เริ่มตั้งแต่ก่อนจะบันทึกภาพกันเลย .. นิตยสารบางเล่มที่รับภาพจากช่างภาพอิสระจะกำหนดไว้เลยว่าจะต้องปรับตั้งค่าของกล้องดิจิทัลไว้ยังไง แบบไหนถึงจะสะดวกในการปรับแต่งภาพในภายหลัง เมื่อจะนำภาพมาปรับแต่งในภายหลัง สิ่งสำคัญคือต้องพยายามเก็บรายละเอียดของภาพมาให้ได้มากที่สุด จะได้ปรับแต่งบนคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ตรงนี้เลยกลายมาเป็นหลักคร่าวๆ ของการปรับค่าในการบันทึกภาพว่าให้พยายามรักษาต้นฉบับที่บันทึกให้ได้มากที่สุด ผ่านการประมวลผลด้วยซอฟต์แวร์บนกล้องให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ .. อ่อ ลืมบอกไป กล้องดิจิทัลทุกตัวมีซอฟต์แวร์ในการปรับแต่งภาพฝังอยู่ข้างในทั้งนั้นแหละครับ white balance, sharpness, saturations, digital zoom, compression ฯลฯ ล้วนแต่เป็นฝีมือของซอฟต์แวร์บนกล้อง .. ถ้าจะบันทึกแล้วเอาไปอัดลงกระดาษทันทีก็แล้วไป แต่ถ้าเราจะเอามาเข้า workflow เป็นเรื่องเป็นราว เอามาปรับด้วยซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์เลยดีกว่า เพราะให้คุณภาพที่ดีกว่า มีได้อิสระในการปรับแต่งมากกว่า เห็นภาพชัดเจนกว่าด้วย .. การปรับตั้งค่าบนกล้องดิจิทัลให้เหมาะกับการนำมาปรับแต่งทั่วๆ ไปก็มีดังนี้

ขนาดและอัตราการบีบอัดข้อมูล: ตัวที่ทำลายคุณภาพของภาพมากที่สุดคือการบีบอัดของ JPEG เพราะมันเป็นการบีบอัดที่ยอมสูญเสียข้อมูลต้นฉบับบางส่วนไปเพื่อแลกกับขนาดที่เล็กลง (Lossy Compression) จึงมีคำแนะนำกันมาว่า ให้เก็บภาพด้วยคุณภาพสูงสุด บีบอัดน้อยที่สุด ที่ความละเอียดสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าบันทึกแบบ lossless อย่างเช่น TIFF ได้ก็ดี .. ยิ่งถ้าได้เป็น raw ยิ่งดี เพราะ raw จะเก็บข้อมูลดิจิทัลดิบๆ จาก CCD/CMOS โดยไม่ผ่านการ post process ใดๆ เลย แถม raw อาจจะเก็บระดับสีได้มากกว่าด้วย เช่น 12 หรือ 16 bits/channel ซึ่งได้ความละเอียดของระดับสีมากกว่า JPEG ที่ใช้ 8 bits/channel

จากเรื่องของขนาดและคุณภาพแล้ว ถัดมาคือ ISO Sensitivity คำแนะนำคือให้ใช้ค่าต่ำสุดเท่าที่จะใช้บันทึก scene นั้นได้ .. เหตุผลก็คือ ISO Sensitivity ของกล้องดิจิทัลเป็นการอัดประจุไฟฟ้าในปริมาณต่างๆ กัน เพื่อให้ CCD/CMOS เลียนแบบความไวในการรับแสงที่ต่างกัน ยิ่งปรับ ISO สูงๆ ประจุก็จะเยอะ ยิ่งประจุเยอะก็จะมีเม็ดสีเข้ามารบกวน (noise) ในภาพเยอะตามไปด้วย ความสมบูรณ์ของภาพก็จะลดลง .. ทั่วไปแล้วจึงควรตั้งให้ค่าต่ำๆ เข้าไว้ ถ้าลงได้ต่ำสุดของกล้องนั้นๆ ได้ก็จะดี อย่างไรก็ตามในบาง scene อาจจะต้องยอมปรับให้ ISO สูงขึ้นเพื่อแลกกับความคมชัดในการบันทึก เช่น การถ่ายภาพที่ต้องการหยุดการเคลื่อนไหว หรือภาพที่บันทึกภายใต้สภาพแสงน้อยๆ

White Balance เป็นค่าที่ใช้ในการปรับให้สีถูกต้องในสภาพแสงต่างๆ .. เนื่องจากกล้องดิจิทัลไม่รู้ว่าอะไรคือสีขาว เมื่อได้ค่าจาก CCD/CMOS มันจะเทียบเอาว่าค่าน้อยสุดคือดำ และค่าสูงสุดคือขาว แล้วค่อยเอามาปรับว่าสี R G B ของแต่ละพิกเซลควรจะเป็นเท่าไหร่ ผลก็คือสีในภาพอาจจะเพี้ยนไปจากที่ตาเห็น มากน้อยขึ้นกับปริมาณและชนิดแหล่งกำเนิดแสงใน scene นั้นๆ .. white balance เป็นค่าที่ปรับยาก ไม่มีสูตรสำเร็จ .. การปรับ white balance ได้ใกล้เคียงสภาพแสงจริง ช่วยให้แก้ไขสีของภาพได้ง่ายขึ้นเยอะ .. เอาเป็นว่าถ้าต้องการให้สี ‘ถูกต้อง’ หรือใกล้เคียงกับสีจริงให้เลือกปรับ white balance ที่ใกล้เคียงกับสภาพแสงในขณะนั้น ถ้าแสงแดดดีก็ใช้ sunny/daylight ฟ้าครึ้มก็ใช้ cloudy หลอดใส้ใช้ incandescent หลอดนีออนใช้ fluorescent ฯลฯ .. ส่วน auto white balance กล้องบางรุ่นก็แม่น บางรุ่นก็ไม่แม่น ต้องลองทดสอบกันเอง .. อันที่จริง เรื่อง white balance กับโทนเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจเป็นหลัก ดังนั้นอาจจะไม่ต้องการให้แม่นยำถูกต้องเสมอไป .. บ่อยครั้งที่ผมจงใจตั้ง white balance ผิดไปจากแสงธรรมชาติเพื่อให้ได้ภาพอีกแบบ เช่นเดียวกัน การปรับชดเชยแสงก็ขึ้นกับเรา .. ประเด็นก็คือ หากบันทึกได้ใกล้เคียงกับ ‘ภาพสุดท้าย’ ที่ตั้งใจให้มันออกมา เวลาปรับแต่งมันก็จะง่าย

Sharpness ปรับความคมชัด .. มีหลายกรณีที่กล้องดิจิทัลไม่สามารถถ่ายภาพได้คมเป็นใบมีดเหมือนที่ใครเข้าใจ เพราะยังไงก็มีข้อจำกัดของเลนส์และการโฟกัส เพื่อให้ภาพดูคมชัดขึ้น กล้องดิจิทัลหลายๆ รุ่นมักจะทำ unsharp mask เพื่อปรับภาพให้ดูคมขึ้น .. การทำ unsharp mask จริงๆ แล้วก็คือทำให้สีเข้มให้เข้มยิ่งขึ้นและอ่อนให้อ่อนกว่าเดิมตรงจุดที่เป็นขอบของวัตถุในภาพ จะมีผลกระทบกับ histogram ของภาพ และทำให้เห็นเม็ดสีรบกวนเยอะขึ้นได้ด้วย จึงไม่ควรจะตั้ง sharpness เป็น + หรือ – (note: การไม่ทำ unsharp mask บางกล้องให้ตั้ง sharpness = 0 บางกล้อง sharpness = none ) .. หากต้องการปรับให้ภาพดูคมชัด มาทำบนคอมพิวเตอร์ดีกว่า พลาดก็ยังมี undo และยังปรับได้ละเอียดกว่าด้วย :)

โหมดถ่ายภาพแบบต่างๆ เช่น Portrait, Landscape, Macro, Hi-Speed, Night Portrait, Program, Aperture Priority (Av), Shutter Priority (Tv), Manual .. ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกอยู่แค่ 3 แบบคือ Av, Tv, Manual เพราะโหมดอื่นๆ อาจจะมีการปรับแต่งสี ความคม ฯลฯ ให้อัตโนมัติ เช่น โหมด Portrait ของกล้องบางตัวจะปรับสีไปทางแดง-เหลืองนิดๆ เพื่อให้ผิวของแบบดูไม่ซีดและอาจจะปรับความคมให้ลดลงเพื่อให้ภาพ soft ลง .. โหมด Landscape มักใช้ถ่ายภาพวิวก็จะปรับสีไปทางเขียว-ฟ้าต้นไม้จะได้สวยท้องฟ้าจะได้แจ่ม และปรับความคมมากกว่าปกติ .. การเลือกโหมดบันทึกภาพที่เหมาะสมอาจจะช่วยให้ได้ภาพสวยได้ทันทีที่กดชัตเตอร์ แต่ถ้าจะเอามาปรับแต่งทีหลังจะกลายเป็นเพิ่มความยุ่งยากของ workflow .. อีกทั้งโหมดโปรแกรมอัตโนมัติทั้งหลายจะไม่ยอมให้ควบคุมความเร็วชัตเตอร์หรือระยะชัดลึกจึงอาจจะไม่ได้ภาพอย่างที่ต้องการ .. โหมดกึ่งอัตโนมัติอย่าง Av, Tv หรือ Manual เต็มๆ จะให้อิสระในการควบคุมมากกว่า และมีการปรับแต่งด้วยซอฟต์แวร์บนกล้องน้อยกว่าด้วย :)

หลักๆ ที่ควรจะปรับก็คงมีเท่านี้แหละครับ .. ออกไปกดชัตเตอร์กันดีกว่า :)

Shoot !

ในบางแง่มุม กล้องดิจิทัลเองก็มีข้อจำกัดมากอยู่เหมือนกันเมื่อเทียบกับกล้องฟิล์ม สิ่งที่กล้องดิจิทัลด้อยกว่ากล้องฟิล์มและเป็นสิ่งที่ต้องระวังเวลาจะบันทึกภาพก็คือ ‘Latitude’ อธิบายคร่าวๆ ก็คือ ค่าความยืดหยุ่นของฟิล์มว่าทนต่อความผิดพลาดในการวัดแสงได้มากน้อยขนาดไหน ฟิล์มมี latitude สูง เรียกว่ามีพื่นที่เผื่อในกรณีวัดแสงพลาดค่อนข้างมาก ฟิล์มสไลด์ดีๆ วัดแสงผิดสัก 1-2 สต็อปก็ยังได้ภาพที่ดีสีจัดจ้าน .. ส่วน CCD/CMOS จะมี latitude ต่ำมาก วัดแสงพลาดแล้วต้องมานั่งแก้ไข ซึ่งมักจะไม่ได้ผลดีเท่าไหร่ ดังนั้นการอ่านและวัดแสงให้แม่นยำเป็นเรื่องสำคัญอันนึงที่ต้องฝึก (จริงๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นกล้องดิจิทัล หรือฟิล์มก็ต้องฝึกเรื่องวัดแสง) .. อย่างน้อยที่สุดคือต้องระวังเรื่อง blow out เพราะมันแก้คืนไม่ได้ .. blow out เกิดจากเราปล่อยให้กล้องบันทึกแสงในปริมาณมากเกินไป ทำให้ได้ภาพหรือบางส่วนของภาพขาวสว่างมากจนไม่เหลือรายละเอียดปรากฏ กล้องบางรุ่นหลังจากบันทึกภาพแล้วจะดู highlight ซึ่งเป็นจุดที่เกิด blow out ในภาพได้ หรือบางรุ่นจะมี histogram ก็ใช้ดูได้เช่นกัน .. histogram เป็นกราฟบอกการกระจายของโทนจากดำไปขาว ภาพที่ over expose ลักษณะ histogram จะเอียงไปทางขวา ยิ่งถ้าติดขอบด้านขวาก็แสดงว่าเกิด blow out แน่นอน .. และเพราะ blow out มันทำให้รายละเอียดของภาพหาย กล้องบางตัวจึงมีการปรับจูนการวัดแสงเพื่อให้ได้ภาพ under expose นิดๆ ประมาณ 0.3 – 0.5 stop .. ไม่ต้องกังวลมากถ้าภาพออกมามืดนิดๆ ยังไงก็ดีกว่าทำให้รายละเอียดหายเพราะถ่ายเวอร์เกินไป .. เอาล่ะ หลังจากได้ภาพมาแล้ว ที่เหลือเป็นหน้าที่ของซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์กันล่ะ :)

Generic Workflow

สำหรับภาพดิจิทัล workflow จะเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์เยอะ จะเลือกทำอะไรด้วยวิธีไหน ใช้ซอฟต์แวร์อะไร ขึ้นกับความถนัดคุ้นชินส่วนตัว เอาเป็นกลางๆ แล้วไปประยุกต์ใช้กับซอฟต์แวร์ที่ถนัดเองละกันเน้อะ

  1. ดาวน์โหลดภาพเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ มีคำแนะนำว่าควรจะแบ่งไดเรกทอรี่เป็นสัดส่วน ตั้งชื่อให้สื่อความหมายจะได้สะดวกในการค้น อาจจะตั้งชื่อไดเรกทอรี่ตามเหตุการณ์ที่ไปบันทึกภาพมา หรือชื่อสถานที่ท่องเที่ยว กำกับวันที่ไว้ด้วยก็อาจจะช่วยค้นหาได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
  2. ซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพหลายๆ ตัว ช่วยจัดระบบภาพได้ โดยให้เราการกำหนดหมวดหมู่หรือใส่คำบรรยายกำกับภาพ ถ้าจัดระบบดีๆ ก็จะช่วยให้ค้นหาภาพได้ง่ายขึ้น .. การกำหนดหมวดหมู่อาจจะแบ่งได้หลายแบบ เช่น แบ่งตามประเภทของภาพ เป็น ภาพบุคคล วิว น้ำตก ภูเขา ทะเล ฯลฯ .. หรือภาพถ่ายครอบครัวก็อาจจะแบ่งตามสมาชิกในครอบครัวก็ได้ .. คำบรรยายอาจจะเขียนกำกับลักษณะ บรรยากาศ หรือ ความรู้สึกขณะบันทึกภาพก็ได้
  3. สร้าง thumbnail ไว้ จะได้ browse ได้เร็วขึ้น .. โปรแกรมส่วนใหญ่จะทำให้อัตโนมัติ อย่างไรก็ตามมีคำแนะนำว่า ถ้าโปรแกรมสามารถบันทึก thumbnail แยกเป็นไดเรกทอรี่ได้ก็จะดี เพราะเวลาเก็บลง CD จะได้บันทึก thumbnail ไว้ด้วย ไม่ต้องเสียเวลาสร้าง thumbnail ใหม่
  4. เก็บต้นฉบับลง offline media สักสองสำเนา เอา CD-R ก็ได้ แผ่นไม่กี่ตังค์ เสียภาพบางภาพไปไม่คุ้มกันหรอกครับ .. หากภาพยังไม่เต็มแผ่นพอดี ก็เผาเก็บลง CD-RW ก่อนก็ได้ ทำไปจนกว่าแผ่น CD-RW เต็มค่อยถ่าย CD-RW ลง CD-R แล้วเอาแผ่น CD-RW มาหมุนเวียนใช้งานต่อ .. แผ่น DVD+/-R/RW ก็ใช้เทคนิคเดียวกัน
  5. คัดเลือกภาพจากต้นฉบับที่ต้องการเอาไปใช้งาน แนะนำว่าให้ลบไฟล์ที่ไม่ต้องการใช้จริงๆ ทิ้งไปก่อน (อย่าลืมเก็บลง offline media !) แล้วค่อยก๊อปปี้ไฟล์ที่จะเอาไปใช้แยกออกมาไว้อีกไดเรกทอรี่สำหรับเอาไปปรับแต่งภาพ .. วิธีนี้จะยังเหลือภาพต้นฉบับที่จะนำไปใช้บนฮาร์ดดิสก์ เกิดข้อผิดพลาดกับภาพที่แต่งยังไงก็มีต้นฉบับให้เริ่มใหม่โดยไม่ต้องไปค้นออกมาจาก CD-R
  6. ปรับแต่งภาพให้ดีขึ้น .. ก่อนอื่น ต้อง calibrate จอก่อน ถ้าไม่รู้จะทำไงก็ลองทำตามคำแนะนำ ของ http://www.displaycalibration.com/ หรือ http://www.normankoren.com/makingfineprints1A.html หลังจากได้จอที่เที่ยงตรงพอสมควรแล้วค่อยมาปรับแต่งภาพกัน .. การปรับแต่งภาพขั้นพื้นฐานอยู่ไม่กี่อย่างครับ แต่ถ้าได้ทำสักนิดภาพจะแจ่มขึ้นอีกเป็นกอง …

  • Rotate – โปรแกรมหลายโปรแกรมยังไม่ฉลาด มันไม่รู้ว่าเราถ่ายภาพมาแนวตั้งหรือแนวนอน หมุนภาพซะให้ถูกต้อง โปรแกรมหลายๆ ตัวจะทำ lossless JPEG rotation ได้ ช่วยให้ไม่เสียคุณภาพขณะหมุน
  • Crop – การเปลี่ยนกรอบภาพอาจช่วยให้องค์ประกอบของภาพดีขึ้น ได้ภาพน่าสนใจมากขึ้น .. เวลา crop ภาพพยายามให้ aspect ratio คงเดิมได้ก็ดี เช่นภาพขนาด 1600×1200 ถ้า crop แนวนอนได้ 400 pixels ก็ควรจะได้แนวตั้ง 300 pixels .. อย่างไรก็ตาม การปรับ aspect ratio ก็เหมือนกับกฏการจัดองค์ประกอบภาพอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นต้องทำตามทุกครั้งไป .. ภาพบางภาพกำหนด aspect ratio เป็น 1:1 อาจจะสวยกว่า 3:2 หรือ 4:3 หรือ 16:9
  • Level – อันนี้ต้องอธิบายละเอียดนิด เพราะเป็นตัวหลักที่จะต้องปรับแทบทุกภาพ .. level เป็นค่าที่บอกระดับความต่างของโทนแต่ละสี ปกติแล้วมีค่า 0 -255 (i.e. 8 bits/channel) โดยที่ 0 = ดำ 255 = ค่าสว่างสุดของสีนั้น .. ภาพที่เราบันทึกมาบางครั้งมันจะมีโทนไปกองอยู่ช่วงใดช่วงนึง ดูได้จาก histogram .. การปรับ level จะเป็นการขยายช่วงโทนของภาพให้กระจายเต็มที่ตั้งแต่ 0 – 255 ทำให้ความแตกต่างของสีสันมีมากขึ้น brightness contrast สูงขึ้น ผลก็คือ ภาพจะดูมีมิติมากขึ้น สีสันสดใส … ตัวควบคุม level มีสามค่า คือ black point กำหนดค่าต่ำสุดอยู่ทางซ้ายมือ, white point กำหนดค่าสูงสุดอยู่ทางขวามือ และ gamma กำหนดแฟคเตอร์การกระจายโทน .. การปรับ level ทั่วไปแล้วจะดูจาก histogram ของสี โดยเลื่อน black point มาที่ปลายด้านซ้ายของ histogram และเลื่อน white point มาไว้ที่ปลายด้านขวาของ histogram เสร็จแล้วค่อยปรับ gamma ถ้าต้องการ .. การปรับ level อาจจะปรับที่โทน (สีดำ) ตัวเดียวก็ได้ หรือ ปรับแยกแต่ละช่องสี (R G B) ก็ยิ่งดี .. วิธีการปรับนี้ไม่ใช่สูตรสำเร็จ ดังนั้นไม่ต้องไปยึดติดกับวิธีการหรือค่าต่างๆ มากนัก คำแนะนำในการปรับ level เป็นแค่ตัวช่วยคร่าวๆ คนที่ตัดสินใจว่าพอดีไม่ใช่ histogram แต่เป็นตัวเราเองต่ะหาก :)

มากกว่านี้ก็อาจจะมี color balance, sharpening, soft, noise removal หรือตกแต่งกันระดับ pixel เช่น ลบสิวฟ้า ทำหน้าเด้งหน้าใส ฯลฯ .. ที่ควรจะต้องทราบคือ ลำดับก่อน-หลังในการปรับแต่งก็สำคัญเหมือนกัน อย่าง unsharp mark ถ้าเป็นไปได้ให้ทำเป็นอันดับท้ายสุด เพราะมันกระทบกับ histogram ของภาพ ถ้าทำ unsharp mask ก่อนแล้วมาปรับ level ทีหลังจะได้ผลลัพธ์ไม่ค่อยดีนัก

เก็บภาพที่แต่งเสร็จแล้วลง offline media ใช้วิธีเดียวกับการเก็บต้นฉบับ

My workflow

เวลานี้ผมใช้ workflow จัดการภาพเพื่อความสะดวกในการค้นหาและเลือกภาพ publish ขึ้นเว็บ อุปกรณ์ที่ใช้มีกล้องดิจิทัลสองตัว (Olympus C700UZ + Nikon D70) ทั้งสองปรับตั้งค่าต่างๆ ตามที่เขียนไว้ข้างบน + ใช้ Adobe RGB + Custom Curve สำหรับ D70 .. การบันทึกภาพ ถ้าเป็นไปได้จะบันทึกเผื่อพื้นที้ไว้แล้วมา crop ปรับองค์ประกอบภาพทีหลัง .. workflow บนคอมพิวเตอร์ทำบนลินุกซ์ทั้งหมด ขั้นตอนก็มีดังนี้

  • โหลดภาพจากกล้อง มีสองวิธี ถ้าเป็น USB Storage ก็ cp เอา ถ้าเป็น PTP mode ก็จะใช้ gtkam โหลดมาแทน .. ข้อดีของ gtkam คือ เห็น thumbnail ก่อน เลยเลือกโหลดเป็นภาพๆ ได้ แต่ข้อเสียก็คือ gphoto2 ที่เป็น library ในการโหลดภาพไม่ยอมปล่อยหน่วยความจำจนกว่าจะโหลดภาพครบ ถ้าโหลดภาพจำนวนเยอะๆ กินหน่วยความจำระบบเยอะไปด้วย .. ปกติผมจะใช้ USB Storage เพราะจะโหลดภาพทั้งหมดอยู่แล้ว ชื่อไดเรกทอรีตั้งในรูปแบบ yymmdd-place เปลี่ยน permission ภาพทั้งหมดเป็น 644
  • ภาพที่กำหนด color space เป็น Adobe RGB ชื่อไฟล์มันจะเป็น _dscxxxx.nef แทนที่จะเป็น dsc_xxxx.nef ตามปกติ ผมสั่ง rename โดยใช้ script นี้:
#!/bin/sh
for f in _dsc*.*; do
    x=`echo -n dsc_; echo $f | cut -f2 -dc`
    mv $f $x
done;
  • ภาพ NEF(Nikon raw image format) ตอนนี้ยังไม่มีโปรแกรม viewer บนลินุกซ์ เลยใช้วิธีถอด JPEG (full resolution + basic compression) ที่ฝังอยู่ใน NEF มาใช้ จะได้ browse เลือกดูสะดวกๆ
$ for f in *.nef; do exiftool -b -JpgFromRaw $f > `basename $f .nef`.jpg; done
  • ใช้ GQview ในการจัดการภาพ ตั้งให้ GQview เก็บ thumbnail ลงใน .thumbnail ในไดเรกทอรี่ที่เก็บภาพ เวลาเปิดดูภาพจาก CD-R จะได้มี thumbnail พร้อมใช้
  • สำเนาต้นฉบับลง CD-R สองชุด
  • เอา GQview คัดภาพที่ต้องการลงเว็บ สำเนามาไว้ในไดเรกทอรี่สำหรับแต่งภาพ .. ขั้นตอนการปรับแต่งจะทำในไดเรกทอรีแต่งภาพเท่านั้น จะได้ไม่เผลอไปแก้ภาพต้นฉบับโดยไม่ตั้งใจ
  • อ่านภาพ NEF เข้ามาบน The GIMP ด้วย UFRaw plug-in .. ภาพจากไฟล์ NEF สามารถปรับเปลี่ยน white balance , exposure, saturation และอื่นๆ ได้ขณะ import และยังเลือก input/output color profile ได้ด้วย

  • crop ภาพให้ได้กรอบที่ต้องการ
  • แก้ไขภาพระดับ pixel ถ้าจำเป็น
  • ปรับ level/curve
  • ย่อภาพลงเหลือ 500 x 331
  • ใส่กรอบภาพ ตัวหนังสือ ฯลฯ
  • บันทึกภาพเก็บเป็นไฟล์ JPEG ผมตั้งเป้าขนาดไฟล์ไว้ไม่ให้เกิน 100 KB/ภาพ ภาพบนเว็บใหญ่เกินไปมันจะโหลดช้า พารามิเตอร์ที่ใช้คือ
    • Quality อยู่ระหว่าง 85 – 92 มากกว่านี้ไฟล์จะขนาดใหญ่ขึ้นมาก น้อยกว่านี้จะเริ่มเห็นคุณภาพที่ตกลงไป
    • Smooth = 0 .. smooth เป็นค่าปรับการกลมกลืนของสี ยิ่งตั้งค่าสูงๆ ก็จะลดจำนวนสีไปได้มาก ตั้งค่าเป็น 0 เท่ากับว่าไม่มีการลดทอนสีด้วยการ smooth
    • Force Baseline JPEG เพื่อความมั่นใจว่า JPEG decoder ใดๆ ก็จะอ่านภาพขึ้นมาได้เสมอ
    • Progressive … ภาพ JPEG ทั่วไปเวลา decode จะเห็นภาพจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง .. Progressive JPEG จะเห็นภาพเบลอๆ ทั้งภาพแล้วค่อยๆ ชัดขึ้นๆ ..เลือก Progressive JPEG ช่วยลดขนาดภาพลงได้นิดหน่อย
    • Subsampling = (1×1, 1×1, 1×1) .. ค่า subsampling เป็นอัตราการ downsampling channel แดง/เขียว น้ำเงิน/เหลือง brightness ตามลำดับ .. ถ้าตั้ง 2×2 1×1 1×1 แปลว่า channel แดง/เขียวจะถูก downsampling ลงเหลือครึ่งนึงของตัวอื่น เช่น เดิมมี 256 ระดับสีก็จะลดลงเหลือ 128 ระดับ จึงใช้พื้นที่เก็บน้อยลง .. ถ้าตั้ง 1×1 1×1 1×1 แปลว่าไม่มีการ downsampling เลย
    • DCT Method = Floating-point DCT .. Discrete Cosine Transform เป็นหัวใจของการบีบอัดของ JPEG ตัวเลือกนี้มีไว้เปลี่ยนความแม่นยำในการคำนวณ DCT ซึ่ง output จะไม่มีผลกับขนาดของภาพ แต่มีผลกับคุณภาพและเวลาในการคำนวณเป็นหลัก เลือกใช้ Floating-point ทำให้การคำนวณ DCT มีความแม่นยำสูง และได้คุณภาพของภาพที่ดีกว่า และแน่นอนว่ามันคำนวณช้ากว่าด้วย .. แต่คอมพิวเตอร์ทำงานเร็ว ไม่รู้สึกว่าช้าหรอก :)
    • ไม่บันทึก thumbnail / EXIF data ขนาดไฟล์จะลดลงได้อีก 10-30 KB :)
  • ใช้ jhead หรือ exiftool อ่านข้อมูล EXIF มาสร้างเป็น description จะอ่าน EXIF มาจากไฟล์ต้นฉบับ
$ for f in *.jpg; do
    exiftool /path/to/original/`basename $f .jpg`.nef > desc/$f.html;
done
  • ใช้ jhead ลบ EXIF และ header ที่ไม่จำเป็น ออกจากไฟล์ภาพใน web gallery ที่อาจจะเผลอทิ้งไว้
$ jhead -dc *.jpg
$ jhead -de *.jpg
$ jhead -dt *.jpg
  • สร้าง thumbnail ของ web gallery โดยใช้โปรแกรม convert ของ ImageMagick ย่อลงเหลือ 20% … สั่งเป็น batch เลยทีเดียว เร็วกว่าย่อทีละภาพบน GIMP :)
$ for f in *.jpg; do
    convert -quality 85 -resize 20%x20% $f tn/tn_$f;
done
  • เขียน description ของแต่ละภาพ ใช้ gedit หรือ leafpad
  • sync web gallery ขึ้นเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย rsync
$ rsync -e ssh -auv --progress /path/to/gallery/ user@server:/path/to/gallery/

จบแล้ว .. สรุปสักนิด .. digital workflow อาจจะดูเหมือนสร้างภาระงานให้มากขึ้น ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ .. แต่ที่เขียนมานี้ตั้งใจให้เป็นเพียง guideline และคำแนะนำคร่าวๆ สำหรับใครก็ตามที่ต้องการเริ่มต้นกับการปรับแต่งภาพ มากกว่าจะสูตรตายตัวที่ต้องทำทุกครั้งกับทุกภาพ .. ขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมาจะทำตามก็ได้ ไม่ทำก็ได้ หรือทำแต่ไม่เหมือนกันก็ได้เพราะ workflow ส่วนนึงต้องหาแนวทางที่ถนัดกันเอง .. ขอให้สนุกกับการบันทึกภาพ

.. May the light be with you :)

Setting Up Thai Domain Names

ไม่นานมานี้ THNIC เปิดบริการโดเมนเนมภาษาไทยฟรีให้กับเจ้าของโดเมน .th ทั้งหมดโดยที่ THNIC ให้ขอชื่อโดเมนภาษาไทยสำหรับโดเมนภาษาอังกฤษที่จดไว้กับ THNIC แล้ว หากผ่านการพิจารณาแล้ว THNIC จะทำการแม็ปชื่อโดเมนภาษาไทยกับโดเมนภาษาอังกฤษให้อัตโนมัติ โดยเซิร์ฟเวอร์ที่ THNIC จะเป็น DNS server สำหรับโดเมนภาษาไทยทุกตัวที่ขอจดไป .. อย่างไรก็ตามหากเราต้องการรัน DNS server สำหรับโดเมนภาษาไทยเองก็สามารถทำได้เช่นกัน

Internationalized Domain Name (IDN)

โดเมนภาษาไทยนี้จะต่างไปจากบริการของนิภาหรือบริการชื่อไทยอื่นๆ ก่อนหน้านี้ที่อาศัยการแฮ็กและติดตั้งซอฟต์แวร์เสริม (ที่ไคลเอ็นด์ และ/หรือที่ ISP).. สำหรับโดเมนภาษาไทยที่ THNIC ให้บริการคือระบบโดเมนหลายภาษา เป็นมาตรฐานที่ร่างโดย Internationalized Domain Name Working Group ของ IETF .. วิธีการของ IDN ปัจจุบันใช้การเก็บข้อมูลโดเมนเนมภาษาต่างๆ ในรูปแบบที่เรียกว่า punycode (กำหนดไว้ใน RFC 3492) ซึ่งสามารถบันทึกเก็บในฐานข้อมูลของ DNS เป็น ASCII ธรรมดาได้ .. เมื่อฐานข้อมูลเก็บเป็น punycode การ query จึงเป็น punycode ด้วย ตอนนี้ resolver ใน OS เกือบ/ทั้งหมดยังไม่สนับสนุนการแปลงโดเมนภาษาต่างๆ เป็น punycode ดังนั้นแอพพลิเคชันจึงต้องทำเอง (วิธีการที่ให้แอพพลิเคชันแปลงเป็น punycode เองนี่เรียกว่า IDN in Application หรือ IDNA – RFC 3490) .. ข่าวดีสำหรับลินุกซ์คือ บราวเซอร์ยอดนิยมทั้งหลาย i.e., Mozilla, Firefox, Opera จะแปลงโดเมนเนมใน URL เป็น punycode ให้อัตโนมัติ ผู้ใช้งานลินุกซ์จึงใช้งานโดเมนภาษาไทย หรือภาษาอื่นๆ ได้ทันที … ส่วน IE ต้อง ดาวน์โหลดปลั๊กอิน มาติดตั้งด้วย

Server Side

ฝั่ง DNS server ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง/แพตช์อะไรเลย เพราะ punycode ก็คือ ASCII ธรรมดาเหมือนโดเมนภาษาอังกฤษทั่วๆ ไป .. หากต้องการรัน DNS server สำหรับโดเมนภาษาไทยหรือภาษาอะไรก็ตาม วิธีการก็เพียงแค่สร้าง zone ใหม่สำหรับโดเมนนั้น โดยที่แปลงชื่อโดเมน หรือชื่อซับโดเมน หรือโฮสต์เนมในภาษานั้นๆ เป็น punycode ก่อนเท่านั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น โดเมน kitty.in.th มีโดเมนภาษาไทยชื่อ แมวเหมียว.th

ขั้นแรกก็แปลง “แมวเหมียว” เป็น punycode ก่อน โดยแปลงที่ http://josefsson.org/idn.php ก็ได้ หรือจะเอาซอร์สจาก RFC 3492 หรือ http://www.gnu.org/software/libidn มาคอมไพล์ก็ได้ ..

แมวเหมียว = xn--y3cadscv5e5dg

สร้าง zone สำหรับ แมวเหมียว.th โดยใช้ punycode

zone "xn--y3cadscv5e5dg.th" {
        type master;
        file "sandbox/kitty.in.th-idn";
        allow-update { none; };
};

สร้างฐานข้อมูลในไฟล์ kitty.in.th-idn (หรืออะไรก็ตามที่ระบุไว้ใน zone) .. ข้อมูลที่ใส่ก็เหมือนฐานข้อมูลของโดเมนภาษาอังกฤษ เพียงแต่แปลงโฮสต์เนมเป็น punycode ก่อน แล้วค่อยเก็บลงไป

โดเมน = xn--l3ckx7ji

เว็บ = xn--r3cz4e3a

ไฟล์ = xn--w3cm5g8a

เมล = xn--y3ci3f

        IN      NS      ns.kitty.in.th.
        IN      MX      5       mail.kitty.in.th.

@               IN      A       203.152.18.6
xn--l3ckx7ji    IN      CNAME   ns.kitty.in.th.
xn--w3cm5g8a    IN      CNAME   ftp.kitty.in.th.
xn--r3cz4e3a    IN      CNAME   www.kitty.in.th.
xn--y3ci3f      IN      CNAME   mail.kitty.in.th.

รีสตาร์ทเนมเซิร์ฟเวอร์

# named.restart

ติดต่อ THNIC เพื่อขอให้ชี้ primary/secondary DNS server สำหรับโดเมนภาษาไทยมาที่เซิร์ฟเวอร์ของเราแทน

.. เสร็จแล้ว !

เน็ตเวิร์กไดรว์ ผ่าน sftp บน GNOME 2.6

บน GNOME เวอร์ชันก่อนๆ เราสามารถแม็ปเน็ตเวิร์กไดรว์ผ่านทาง smb หรือ ftp ส่วนใน GNOME 2.6 นอกจาก smb และ ftp แล้ว Gnome-VFS ยัง สนับสนุน sftp และ WebDAV ด้วย ทำให้เราสามารถแม็ปเน็ตเวิร์กไดรว์ผ่านโพรโตคอลเหล่านี้ได้ วิธีการคือดับเบิลคลิก “Computer” เลือกเมนู “File ? Connect to server … ” จะปรากฏไดอะล็อกกรอกข้อมูลสร้างเน็ตเวิร์กไดรว์

Link name: ชื่อลิงก์

Location (URL): กรอก sftp://[email protected]/path/to/dir/

เช่น

กด connect เป็นอันเสร็จขั้นตอนการแม็ปเน็ตเวิร์กไดรว์ ซึ่งจะมีไอคอนของเน็ตเวิร์กไดรว์ปรากฏในไดอะล็อกคอมพิวเตอร์ และบนเดสก์ท็อป การใช้งานก็เหมือนระบบไฟล์ปกติ ซึ่ง drag & drop ได้ ทำให้อัปโหลด/ดาวน์โหลดไฟล์ผ่าน sftp ได้สะดวกขึ้นมาก

โน้ต

  • วิธีนี้ใช้ได้กับทุกโพรโทคอลที่ gnome-vfs สนับสนุน (e.g., ftp://… smb://… )
  • gnome-vfs ไม่สามารถ accept host key ได้ หากไม่เคยเชื่อมต่อเครื่องปลายทางมาก่อนเลย ให้ใช้ ssh/sftp/scp บนคอมมานด์ไลน์ในการเชื่อมต่อครั้งแรกเพื่อ establish host key จากนั้นจึงใช้การเชื่อมผ่านทาง gnome-vfs
  • หากจำเป็น gnome-vfs จะถามรหัสผ่านในการเชื่อมต่อ เราสามารถเลือกให้บันทึกรหัสผ่านเก็บใน gnome-keyring ได้ และเลือกได้ว่าให้จำรหัสผ่านไปตลอด หรือเฉพาะ session นั้นๆ
  • ถ้าใช้เครื่องส่วนตัว ลองพิจารณาใช้ public-key authentication สำหรับ ssh ซึ่งสะดวกและปลอดภัยกว่าการใช้รหัสผ่าน วิธีการคือ

สร้าง public key pair เช่นสร้าง RSA key pair ขนาด 1024 บิต จะสั่งงานเป็น

$ ssh-keygen -t rsa -b 1024

จากนั้นทำตามขั้นตอนการสร้าง key pair เสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้ไฟล์ id_rsa และ id_rsa.pub (หรือ id_dsa/id_dsa.pub กรณีสร้าง DSA key pair) เก็บไว้ใน ~/.ssh/

จากนั้นทำยังไงก็ได้ให้ข้อมูลใน id_rsa.pub (หรือ id_dsa.pub) ไปต่อท้ายไฟล์ ~/.ssh/authorized_keys ในเครื่องปลายทาง เช่น

scp id_rsa.pub [email protected]:
ssh [email protected]
password:
user@remote $ cat id_rsa.pub >> ~/.ssh/authorized_keys
user@remote $ rm id_rsa.pub

เสร็จแล้ว ลอง ssh [email protected] หากตามขั้นตอนถูกต้อง และ sshd ที่เครื่องปลายทางเปิดให้ใช้ public key authentication จะสามารถล็อกอินเครื่องปลายทายได้โดยไม่ต้องกรอกรหัสผ่าน Gnome-VFS ก็จะไม่ถามรหัสผ่านเช่นกัน

คำเตือน: key pair เป็นข้อมูลสำคัญมาก โดยเฉพาะ id_rsa/id_dsa ซึ่งเป็น private key ระวังอย่าให้ตกไปอยู่ในมือผู้อื่นเป็นอันขาด (เป็นเหตุผลว่าทำไมถึงควรใช้ public key authentication เฉพาะเครื่องส่วนตัวเท่านั้น)

ALSA : Playback เสียงพร้อมกันด้วย Dmix

ปกติแล้วระบบเสียงบนลินุกซ์ ไม่ว่าจะใช้ ALSA หรือ OSS อนุญาตให้แอพพลิเคชันใช้งานได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น เพราะเหตุนี้ หาก XMMS กำลัง playback ผ่าน ALSA แล้ว โปรแกรมอื่นๆ จะใช้ ALSA ไม่ได้ .. ที่จริงแล้วระบบเสียงทุกๆ โอเอสก็เป็นแบบนี้ล่ะครับ เพราะข้อจำกัดจริงๆ อยู่ที่ซาวด์การ์ดซึ่งเกือบทั้งหมดนี้มีชิปสังเคราะห์เสียงเพียงตัวเดียว .. เพื่อแก้ปัญหานี้ บนลินุกซ์จึงมีซอฟต์แวร์ที่เรียกกันว่าซาวด์เซิร์ฟเวอร์ เช่น aRTs ESD NAS หรือ JACK ทำหน้าที่เป็นตัวบริการแทนไดรเวอร์ โดยรับหน้าที่ในการมิกซ์เสียงเพื่อให้แอพพลิเคชันหลายๆ ตัวใช้งานระบบเสียงได้พร้อมๆ กัน .. อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของซาวด์เซิร์ฟเวอร์ที่พบในปัจจุบันคือคุณภาพเสียงจะลดลงเมื่อแอพพลิเคชันใช้งานกันหลายตัว โดยเฉพาะการ playback ในอัตราแซมปลิ้งที่ต่างๆ ไปจากความสามารถของซาวด์การ์ด อีกทั้งโปรแกรมต้องเขียนให้สนับสนุนซาวด์เซิร์ฟเวอร์นั้นๆ ด้วย

ที่จริงแล้ว หากใช้ ALSA แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีซาวด์เซิร์ฟเวอร์ แอพพลิเคชันก็สามารถสั่ง playback เสียงพร้อมๆ กันได้ โดยใช้ Dmix plugin

ใช้งาน Dmix

Dmix เป็น PCM direct stream mixing plugin ของ ALSA ปลั๊กอินนี้ทำหน้าที่มิกซ์เสียงเพื่อให้แอพพลิเคชันสั่ง playback เสียงได้พร้อมๆ กัน .. Dmix ฝังอยู่ใน libasound มาตั้งแต่ ALSA เวอร์ชัน 0.9 กว่าๆ แล้ว เพียงแต่ไม่ค่อยมีใครรู้และเอามาใช้งานมากนัก ข้อดีของ Dmix คือมันไม่ได้ใช้โมเดลแบบไคลเอนด์/เซิร์ฟเวอร์เหมือนซาวด์เซิร์ฟเวอร์ แต่ใช้วิธีรับข้อมูลแล้วเขียนลงบัฟเฟอร์ของซาวด์การ์ดโดยตรงผ่านทาง DMA ผลคือ Dmix ไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนไคลเอนด์ และได้คุณภาพเสียงที่ดี

ในขั้นพื้นฐานที่สุด การใช้งาน Dmix ทำได้โดยระบุดีไวซ์ของ ALSA เป็น Dmix plugin เช่น โปรแกรม aplay ใช้พารามิเตอร์ -D กำหนดดีไวซ์ที่ต้องการใช้ ลองเปิดเทอร์มินัลสองตัว แล้วเรียกใช้ aplay ตามข้างล่างนี้:

$ aplay -Dplug:dmix file.wav

ควรจะได้ยินเสียงจาก file.wav สองเสียงพร้อมกัน

หรือ XMMS ก็สามารถใช้ ALSA plugin แล้วระบุดีไวซ์เป็น plug:dmix ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การใช้งาน Dmix โดยตรงนี้มักจะให้คุณภาพเสียงที่ไม่ดีมากนัก และมักจะมี noise การใช้งานจริงจึงมักจะสร้างดีไวซ์ PCM ขึ้นมาใหม่ โดยสร้างหรือแก้ไขไฟล์ ~/.asoundrc ตามนี้

pcm.intel8x0 {
    type dmix
    ipc_key 1313
    slave {
        pcm "hw:0,0"
        period_time 0
        period_size 1024
        buffer_size 8192
        rate 44100
    }
}

อธิบายคร่าวๆ

~/.asoundrc เป็นคอนฟิกไฟล์ของ libasound นอกเหนือจากคอนฟิกค่าปริยายใน /usr/share/alsa/alsa.conf เราสามารถสร้างดีไวซ์ PCM ของ ALSA ขึ้นมาใหมได้โดยการกำหนดไว้ในไฟล์นี้ จากตัวอย่างนี้ผมสร้างดีไวซ์ PCM ของ ALSA ในชื่อ “intel8x0” ชื่อนี้จะตั้งเป็นอะไรก็ได้ครับ ขอเพียงไม่ซ้ำกับที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้เท่านั้น

  • ผมตั้งเป็น intel8x0 ตามไดรเวอร์ของ i830 AC’97
  • ชนิดของ PCM เป็น dmix หมายความว่า PCM ตัวนี้จะใช้ Dmix plugin เป็นตัว playback ส่วนของ
  • slave มีไว้กำหนดดีไวซ์ที่ intel8x0 ทำงานครอบอยู่ จากตัวอย่างนี้กำหนดเป็น
    • ดีไวซ์ PCM “hw:0,0” อ้างอิง ฮาร์ดแวร์ PCM (บนซาวด์การ์ด) ไอดี 0 พอร์ต 0
    • period_time ขนาดของข้อมูลที่ส่งเข้า/ออกซาวด์การ์ด หน่วยเป็น usec ค่าปริยายจะส่งข้อมูลเข้าซาวด์การ์ดเป็นจังหวะทุก 125 msec (ค่าปริยาย = 125000 usec) กำหนดเป็น 0 เพื่อ override ค่าปริยาย
    • period_size ขนาดของข้อมูลที่ส่งเข้า/ออกซาวด์การ์ด หน่วยเป็นไบต์ ค่าที่กำหนดต้องเป็นสองยกกำลัง n กำหนดมากหรือน้อยไปจะมี noise รบกวน
    • buffer_size กำหนดขนาดของบัฟเฟอร์ กำหนดมากไปอาจจะทำให้มี latency สูง กำหนดน้อยไปก็จะทำให้เสียงขาดช่วง
    • rate อัตราแซมปลิ้ง ที่ 44.1 kHz (ค่าปริยาย = 48 kHz)

ออปชันอาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ ค่า period_size กับ buffer_size ไม่จำเป็นต้องเป็นค่า 1024/8192 เสมอไป เพราะขึ้นกับซาวด์การ์ดและชิป PCM ด้วย ต้องลองปรับกันเอาเองครับ

หลังจากได้ดีไวซ์ PCM ตัวใหม่แล้วทีนี้เราก็สามารถอ้างอิงดีไวซ์นี้เพื่อใช้ playback เช่น

$ aplay -Dintel8x0 file.wav

และ หากต้องการกำหนดให้ใช้ดีไวซ์ Dmix โดยปริยาย สามารถทำได้โดยเพิ่มบรรทัดต่อไปนี้ ลงไปใน %HOME/.asoundrc

pcm.!default {
    type plug
    slave.pcm "intel8x0"
}

กรณีนี้แอพพลิเคชันที่ตั้งดีไวซ์ PCM เป็น default ไว้แล้ว เช่น xine และ xmms ก็จะใช้งาน Dmix โดยอัตโนมัติ โปรแกรมอื่นๆ ก็เพียงกำหนดให้ใช้ดีไวซ์ที่เป็น Dmix เท่านั้น เช่น กรณีของ mplayer/gmplayer หากใช้ ALSA จะ playback ออก hw:0,0 โดยตรง เราสามารถกำหนดดีไวซ์ที่ต้องการ playback ได้โดยใช้ออปชัน -ao เช่น

$ mplayer -ao alsa9:intel8x0 file.mpg

หรือ

$ mplayer -ao alsa9:default file.mpg

หากจะตั้งถาวรก็ตั้งในไฟล์ ~/.mplayer/config เช่น

ao=alsa9:intel8x0

หรือในกรณีของ gaim ซึ่งไม่สนับสนุน ALSA โดยตรง ก็สามารถใช้โปรแกรม aplay แทนได้ โดยเลือก

Preferences -> Sounds เลือก Method เป็น Command กรอกในช่อง Sound command เป็น

$ aplay -Dintel8x0 %s

โดยสรุปคือ

ถ้าตั้งดีไวซ์ได้ ก็ให้ตั้งเป็นดีไวซ์ที่มี type เป็น Dmix หรือมี slave เป็น Dmix

ถ้ากำหนดคำสั่งในการ playback ได้ ให้ใช้ aplay โดยกำหนดให้ใช้ดีไวซ์ที่มี type เป็น Dmix หรือมี slave เป็น Dmix

ปัญหาที่เจอเมื่อใช้ Dmix

เวลานี้มีอยู่สองอย่างคือ

  1. xmms อาจจะหยุด playback กลางคัน โปรแกรมไม่แครช กด play อีกครั้งก็จะเริ่ม playback ได้ปกติ .. ตอนนี้ยังไม่มีทางแก้ครับ
  2. mplayer หาก playback ไฟล์ที่อัตราแซมปลิ้งสูงหรือต่ำกว่าที่ตั้งไว้ใน .asoundrc เสียงจะเพี้ยน (xine ไม่มีปัญหาตรงจุดนี้) ทางแก้คือกกำหนดให้ใช้ดีไวซ์ที่เหมาะกับการ playback เช่น กรณีที่ playback ไฟล์ที่มีอัตราแซมปลิ้ง 44.1 kHz อาจใช้ -ao alsa9:default หรือ -ao alsa9:intel8x0 แต่ถ้าไฟล์มีอัตราแซมปลิ้งที่ 48 kHz ให้ใช้ -ao alsa9:hw เป็นต้น

.. ลองใช้งานกันดูนะครับ :)

ใช้ซอฟต์โมเด็ม ICH3/ICH4 บนลินุกซ์

หลายๆ คนที่ใช้โน้ตบุ๊ก หรือเดสก์ทอปที่มีซอฟต์โมเด็ม (AMR/CNR/MDC/ACR) คงเจอปัญหาโมเด็มใช้งานบนลินุกซ์ไม่ได้ แต่วันนี้มีข่าวดีสำหรับซอฟต์โมเด็มบน Southbridge ตระกูล ICH3 ICH4 และชิปเซ็ตอื่นๆ ครับ .. บริษัท SmartLink เขาทำไดรเวอร์บนลินุกซ์ให้แล้ว :D .. ไดรเวอร์ตัวปัจจุบัน (2004-02-05) คือเวอร์ชัน 2.9.6 จากเอกสารที่มากับไดรเวอร์ระบุว่าใช้ได้กับชิปเซตต่อไปนี้ครับ

HAMR5600 based AMR/CNR/MDC/ACR modem cards on the following Southbridge
chips:
- Intel ICH0,ICH2, ICH3, ICH4
- Via 686A, 686B, 8231, 8233
- SiS 630
- ALI 1535.
SmartPCI56/561/562/563 based PCI modem cards.
SmartUSB56 based USB modem.

ของใครไม่ตรงกับที่ระบุก็เสียใจด้วยเน้อะ :P

ส่วนโมเด็มบนเครื่อง Peorth ของผมเป็น ICH3 วินโดว์สบอกว่าเป็น Lucent AMR Softmodem ส่วนลินุกซ์ (lspci -v) บอกว่า

00:1f.6 Modem: Intel Corp. 82801CA/CAM AC'97 Modem Controller (rev 01)
(prog-if 00 [Generic])
        Subsystem: Acer Incorporated [ALI]: Unknown device 1022
        Flags: medium devsel, IRQ 10
        I/O ports at a000 [size=256]
        I/O ports at a400 [size=128]

ใช้ไดรเวอร์ slmodem ตัวนี้ได้แน่นอน :D

ติดตั้ง..

ตัดฉากมาที่การติดตั้งกันเลยดีกว่า.. วิธีติดตั้งก็เหมือนการคอมไพล์โปรแกรมทั่วไป แต่เพราะมันเป็นไดรเวอร์บนลินุกซ์ซึ่งจะคอมไพล์ออกมาเป็นเคอร์เนลโมดูล ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นอีกอย่างก็คือซอร์สของเคอร์เนลครับ อ่อ ที่เจ๋งอีกอย่างคือ slmodem 2.9 นี่ใช้กับเคอร์เนล 2.6 ได้ด้วย:)

ก่อนอื่นก็ดาวน์โหลดซอร์สของไดรเวอร์มาก่อนที่ ftp://ftp.smlink.com/linux/unsupported/slmodem-2.9.6.tar.gz

อย่าได้แปลกใจ ที่มันอยู่ใน unsupported ก็เพราะไดรเวอร์นี้ยังเป็น beta อยู่ครับ แต่ไม่ต้องกังวลเพราะเท่าที่ลองก็ใช้งานได้ดี ได้มาแล้วก็

$ tar xvzf slmodem-2.9.6.tar.gz
$ make
$ su -
# make install

เท่าเนี้ยะ เป็นอันเสร็จการติดตั้ง ตัวติดตั้งจะติดตั้งโปรแกรม เคอร์เนลโมดูล และ mknod ใน /dev เตรียมไว้ให้

เริ่มใช้งาน

สำหรับ AMR ก็เริ่มต้นที่เคอร์เนลโมดูลก่อน

# modprobe slamr

โพรบแล้วลองเช็ค /var/log/messages ควรจะเห็นอะไรประมาณนี้ครับ

Feb 12 20:25:23 peorth kernel: slamr: module license 'Smart Link Ltd.' taints kernel.
Feb 12 20:25:23 peorth kernel: slamr: SmartLink AMRMO modem.
Feb 12 20:25:23 peorth kernel: slamr: probe 8086:2486 ICH card...
Feb 12 20:25:23 peorth kernel: PCI: Found IRQ 10 for device 0000:00:1f.6
Feb 12 20:25:23 peorth kernel: PCI: Sharing IRQ 10 with 0000:00:1f.3
Feb 12 20:25:23 peorth kernel: PCI: Sharing IRQ 10 with 0000:00:1f.5
Feb 12 20:25:23 peorth kernel: slamr: mc97 codec is SIL27
Feb 12 20:25:23 peorth kernel: slamr: slamr0 is ICH card.

ตอนนี้เราก็จะได้ดีไวซ์ /dev/slamr0 เป็นตัวเชื่อมกับซอฟต์โมเด็ม

ต่อไปก็รัน slmodemd เป็น daemon ประมวลผลแทนฮาร์ดแวร์ (ซึ่งเป็นส่วนที่ซอฟต์โมเด็มไม่มี .. ก็เลยต้องใช้ซอฟต์แวร์ทำงานแทนนั่นเอง) อย่าลืมระบุประเทศด้วยเพราะสัญญาณโทรศัพท์ของแต่ละประเทศจะต่างกัน และที่ขาดไม่ได้ก็คือดีไวซ์ของโมเด็ม:

# slmodemd --country=THAILAND /dev/slamr0
SmartLink Soft Modem: version 2.9.6 Feb 12 2004 20:27:49
modem `slamr0' created. TTY is `/dev/pts/3'
symbolic link `/dev/ttySL0' -> `/dev/pts/3' created.
Use `/dev/ttySL0' as modem device, Ctrl+C for termination.

เอาล่ะ พร้อมทำงานแล้ว สังเกตว่าโปรแกรมจะสร้าง /dev/ttySL0 เป็นดีไวซ์ของโมเด็ม ดีไวซ์นี้จะปรากฏเฉพาะช่วงที่เรารัน slmodemd ไว้เท่านั้น

ทีนี้ก็มาเซ็ตโมเด็มให้โทร. เชื่อมอินเทอร์เน็ตกัน ผมก็ลองกับ TOT Online นี่ล่ะ บนลินุกซ์ทะเล/FC/RH ใช้ redhat-config-network ก็ได้ (เรียกได้จากเมนู Applications » System Settings » Network) เสร็จแล้วลองดู /etc/wvdial.conf สักนิด ถ้าใช้ redhat-config-network โปรแกรมจะใส่ Modem = /dev/modem ให้เป็นค่าปริยาย แต่เราต้องใช้ /dev/ttySL0 ครับ ดังนั้นมีืืทางเลือกสองทาง คือ 1. แก้ /etc/wvdial.conf ให้ Modem = /dev/ttySL0 หรือ 2. ทำ symlink เอา โดย ln -sf /dev/ttySL0 /dev/modem

# cat /etc/wvdial.conf
[Modem0]
Modem = /dev/ttySL0
Baud = 57600
SetVolume = 2
Dial Command = ATDT
Init1 = ATZ
Init3 = ATM1L2
FlowControl = Hardware (CRTSCTS)
[Dialer TOT_Online]
Username = [email protected]
Password = xxxxxxxx
Phone = 1222
Stupid Mode = 1
Inherits = Modem0

ออนไลน์!

ได้เวลาสั่งหมุนโทรศัพท์กันแล้นน .. ลินุกซ์ทะเล/FC/RH จะใช้ redhat-control-network ก็ได้ครับ (เรียกจากเมนู Applications -> System Tools -> Network Device Control) หรือจะ wvdial อย่างที่ผมใช้ก็ได้

# wvdial TOT_Online
--> WvDial: Internet dialer version 1.53
--> Initializing modem.
--> Sending: ATZ
ATZ
OK
--> Sending: ATM1L2
ATM1L2
OK
--> Modem initialized.
--> Sending: ATDT1222
--> Waiting for carrier.
ATDT1222
CONNECT 37333
--> Carrier detected.  Starting PPP immediately.
--> Starting pppd at Thu Feb 12 20:30:47 2004
--> pid of pppd: 3056

โทร. ติดแล้วลอง lsmod ดูน่าจะเห็นอะไรประมาณนี้

ppp_deflate             4800  0
zlib_deflate           21880  1 ppp_deflate
zlib_inflate           21344  1 ppp_deflate
bsd_comp                5184  0
ppp_async               9952  1
ppp_generic            22288  7 ppp_deflate,bsd_comp,ppp_async
slhc                    6176  1 ppp_generic
slamr                 317956  2

/var/log/message ก็ประมาณนี้

Feb 12 20:30:47 peorth pppd[3056]: pppd 2.4.1 started by root, uid 0
Feb 12 20:30:47 peorth pppd[3056]: Using interface ppp0
Feb 12 20:30:47 peorth pppd[3056]: Connect: ppp0  /dev/pts/2
Feb 12 20:31:03 peorth pppd[3056]: local  IP address 172.17.212.15
Feb 12 20:31:03 peorth pppd[3056]: remote IP address 203.113.60.8
Feb 12 20:31:03 peorth pppd[3056]: primary   DNS address 203.113.93.1
Feb 12 20:31:03 peorth pppd[3056]: secondary DNS address 203.113.93.2

และ ifconfig ก็จะประมาณนี้

# ifconfig
lo        Link encap:Local Loopback
          inet addr:127.0.0.1  Mask:255.0.0.0
          UP LOOPBACK RUNNING  MTU:16436  Metric:1
          RX packets:1202 errors:0 dropped:0 overruns:0 frame:0
          TX packets:1202 errors:0 dropped:0 overruns:0 carrier:0
          collisions:0 txqueuelen:0
          RX bytes:957852 (935.4 Kb)  TX bytes:957852 (935.4 Kb)

ppp0      Link encap:Point-to-Point Protocol
          inet addr:172.17.212.15  P-t-P:203.113.60.8  Mask:255.255.255.255
          UP POINTOPOINT RUNNING NOARP MULTICAST  MTU:1500  Metric:1
          RX packets:3 errors:1 dropped:0 overruns:0 frame:0
          TX packets:4 errors:0 dropped:0 overruns:0 carrier:0
          collisions:0 txqueuelen:3
          RX bytes:66 (66.0 b)  TX bytes:87 (87.0 b)

เป็นอันเรียบร้อย ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโมเด็มได้ซะที :D

ใช้ x2x แทน KVM switcher

ผมมีเครื่องที่ใช้งานประจำอยู่สองเครื่องคือ Peorth และ Yggdrasil .. ปกติแล้วก็จะใช้มอนิเตอร์ คีย์บอร์ด เมาส์สองชุด โต๊ะเขาออกแบบให้วางคีย์บอร์ดและเมาส์เพียงชุดเดียว การจะวางสองชุดจึงไม่สะดวก ยิ่งผมต้องสลับการใช้งานบ่อยๆ ก็ยิ่งเป็นปัญหา สุดท้ายก็เลยกัดฟันซื้อ KVM Switcher ขนาดสี่พอร์ตมาตัวนึง ราคาประมาณสามพันกว่าบาท .. แต่เพราะผมมีจอแสดงผลอยู่แล้วสองจอ (จอ TFT ของ Peorth ซึ่งเป็นโน้ตบุ๊ก และมอนิเตอร์ของ Yggdrasil ที่เป็นเครื่องเดสก์ทอป) ผมเลยต่อเฉพาะคีย์บอร์ดและเมาส์เข้ากับ KVM switcher .. ไหนๆ ก็พูดถึง KVM แล้ว ขอบ่นหน่อยละกัน :P … เจ้า KVM Switcher ที่ผมซื้อมานี่มันมีฮอตคีย์สำหรับสลับการควบคุมไปยังแต่ละเครื่อง มันก็น่าจะสะดวกดีใช่มั้ยครับ ? แต่ฮอตคีย์ของมันคือ กด Ctrl+Alt+Shift พร้อมกันทีนึง จากนั้นกดเลขพอร์ต (1 2 3 หรือ 4) ทีนึง และกด Enter อีกทีนึง สรุปคือต้องกดตั้งห้าปุ่มในสามจังหวะ แบบนี้มันเป็น ‘ฮอต’ คีย์ตรงไหนฟะ เฮ่อ .. สมน้ำหน้าตัวเองไม่ถามให้ดีก่อน (.. แต่ตอนซื้อนั่นไม่คิดว่าจะมีฮอตคีย์ที่กดยากขนาดนี้นี่หว่า เคยใช้แต่กด Ctrl x 2 ก็เลยนึกว่าจะเหมือนกัน .. ซวยไปครับ)

แล้ววันนึง ระหว่างหาข้อมูลในกูเกิ้ลสายตาก็เหลือบไปเห็น Software-based KVM ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานได้เหมือน KVM switcher คือสามารถใช้คีย์บอร์ด เมาส์ มอนิเตอร์ เพียงชุดเดียวในการควบคุมคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง โดยแต่ละเครื่องต้องรันซอฟต์แวร์ KVM และต้องเชื่อมกับเครือข่าย ผมเห็นว่าน่าสนใจก็เลยค้นเพิ่มเติมแล้วก็เจอ Software-based KVM switcher ที่เป็นโอเพ่นซอร์สด้วย ที่กล่าวถึงกันบ่อยๆ ก็มีสามตัวคือ Synergy x2vnc และ x2x … สองตัวแรกขั้นต้นผมลองแล้วแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ประกอบกับความต้องการของโปรแกรมดูจะมากเกินความจำเป็น ก็เลยข้ามมาลอง x2x ซึ่งกลายเป็นซอฟต์แวร์ที่ลงตัวที่สุดในเงื่อนไขที่ผมตั้งไว้ คือ สองเครื่อง สองจอ หนึ่งคีย์บอร์ด หนึ่งเมาส์ สลับการควบคุมง่าย โปรแกรมเล็ก และทำงานได้อย่างปลอดภัย (เรื่องมากจังแฮะ)

x2x

โปรแกรม x2x ยอมให้คีย์บอร์ดและเมาส์ที่เชื่อมกับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปควบคุมคอมพิวเตอร์อีกเครื่องนึงได้ นั่นคือ คีย์บอร์ดและเมาส์ชุดเดียว คุมเครื่องได้หลายเครื่อง (ผมเดาว่าได้เต็มที่สามเครื่อง เพราะอะไรเดี๋ยวมาดูกัน) .. จากชื่อคงพอเดาได้ว่ามาจาก X-to-X ซึ่งแปลว่ามันทำงานกับระบบเอ็กซ์วินโดว์โดยไม่จำกัดแพลตฟอร์ม (ถ้าติดตั้ง X บนวินโดว์ส ก็ใช้กับวินโดว์สได้) .. ขนาดโปรแกรม x2x ก็เพียงแค่ 20 กว่ากิโลไบต์เท่านั้นเอง และการสลับการควบคุมก็ทำได้โดยเลื่อนเมาส์ไปมาระหว่างสองจอภาพ สะดวกดีทีเดียว .. และเช่นเดียวกับ Software-based KVM ทั้งหลาย สิ่งที่ x2x ต้องการก็คือเครื่องที่จะใช้งานก็ต้องเชื่อมอยู่บนเครือข่าย

ภาพนี้เป็นคอนฟิกของผมที่ใช้อยู่ ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์สองตัว Peorth กับ Yggdrasil .. มอนิเตอร์ของเครื่อง Yggdrasil อยู่ทางขวามือของโน้ตบุ๊ก Peorth ผมจะใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ที่ต่อกับ Peorth ในการควบคุมทั้งสองเครื่อง

x2x ต้นฉบับให้มาเป็นซอร์ส สำหรับผู้ใช้ TLE 5.5 ผมทำ rpm ให้แล้ว apt-get ได้เลยครับ .. ดิสโตรอื่นจะคอมไพล์เองก็ได้ครับ ใช้แค่ทูลพื้นฐาน + Xlib เท่านั้นเอง

wget -c http://ftp.digital.com/pub/Digital/SRC/x2x/x2x-1.27.tar.gz
tar -xvzf x2x-1.27.tar.gz
cd x2x-1.27
xmkmf
make

ก็จะได้ x2x เป็นไบนารีมาหนึ่งตัว ก๊อบปี้ไปไว้ที่ ~/bin หรือ /usr/bin หรือ /usr/local/bin ก็ได้ เสร็จแล้วก็สั่งรันโดยระบุพารามิเตอร์ว่าจะเข้าไปควบคุม X display ตัวไหน อย่างกรณีของผม คือต้องการให้ Peorth สามารถควบคุม X display บน Yggdrasil ได้ ก็จะเรียกใช้ x2x บน Peorth ด้วยคำสั่ง:

x2x -to yggdrasil:0.0 -east

โดย

  • -to yggdrasil:0.0 เป็นการระบุ X display ที่ x2x จะเชื่อมเข้าไปควบคุม ในที่นี้คือ :0.0 ของ yggdrasil (yggdrasil เป็น hostname ของเครื่อง Yggdrasil ผมตั้งไว้ใน /etc/hosts .. ตรงนี้อาจจะใช้ FQDN หรือไอพีแอดเดรสไปเลยก็ได้)
  • -east เป็นการระบุว่า yggdrasil:0.0 นั้นอยู่ทิศตะวันออก หรือทางขวามือของ Peorth .. หากอยู่ซ้ายมือก็จะใช้ -west .. ตรงนี้เองที่ทำให้ผมเดาว่ามันคุมได้มากที่สุดสามเครื่อง คือเครื่องที่ต่อคีย์บอร์ดและเมาส์ เครื่องทางซ้ายมือ และเครื่องทางขวามือ

เมื่อสั่งงานแล้ว x2x ก็จะทำการเชื่อมไปยัง X display yggdrasil:0.0 ของ Yggdrasil และคอยตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ที่เชื่อมกับ Peorth หากเคอร์เซอร์ของเมาส์เลื่อนมาจนเลยขอบขวาบนจอภาพของ Peorth เคอร์เซอร์ก็จะโผล่มาที่ขอบซ้ายบนจอภาพของ Yggdrasil ทั้งเมาส์และคีย์บอร์ดที่ต่อกับ Peorth ก็จะเข้ามาควบคุมเครื่อง Yggdrasil และในทำนองเดียวกัน หากเลื่อนเมาส์จนเลยขอบซ้ายของ Yggdrasil เคอร์เซอร์ก็จะกลับมาที่ Peorth การควบคุมก็จะโอนกลับมาที่ Peorth

ในช่วงแรก ผมต้องให้ X บน Yggdrasil เปิดพอร์ต 6000/TCP เพื่อรอรับการเชื่อมต่อจากเครื่องภายนอก และต้องสั่ง

xhost +peorth

เพื่ออนุญาตให้ Peorth เชื่อมต่อเข้ามาได้ (peorth = hostname ของ Peorth) .. แต่อย่างที่รู้กันว่า การเปิดพอร์ต 6000/TCP เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยโสภาเท่าไหร่นัก เพราะมันเป็นการทำให้ระบบมีช่องโหว่ด้านความปลอดภัยรูบะเร่อ

ความปลอดภัย ?

x2x ไม่มีระบบความปลอดภัยใดๆ เลย การเชื่อมต่อของ x2x ใช้โพรโตคอลของ X เพียงอย่างเดียว ซึ่งค่อนข้างเปราะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเปิดให้ X ใช้งานผ่านเครือข่ายได้ นอกจากนี้การเชื่อมต่อ X display เปลือยๆ ก็ไม่ปลอดภัยเพราะไม่มีการปกป้องข้อมูลด้วยวิธีใดๆ เลย ถ้าเทียบ X เป็น remote login มันก็แย่พอๆ กับ telnet นั่นล่ะครับ .. โจทย์จึงกลายเป็นว่า ผมต้องหาทางใช้ x2x โดยไม่ผ่านพอร์ด 6000/TCP ของ X และต้องทำให้การเชื่อมต่อระหว่างสองเครื่องปลอดภัยมากพอด้วย ..

คำตอบของโจทย์นี้ไม่ยากเลย .. SSH tunnel นั่นเอง :D .. หลักการก็คือ แทนที่จะใช้ x2x เชื่อม X display เปลือยๆ ก็ใช้ SSH เชื่อมเข้าไปที่เครื่องปลายทางแล้วรัน x2x เชื่อมกับ :0.0 ที่ปลายทางเพื่อให้มันส่งข้อมูลผ่าน SSH tunnel กลับมาที่ต้นทาง .. ซึ่งหมายความว่าปลายทางจะต้องติดตั้ง x2x ไว้ ส่วนต้นทางที่เป็นตัวควบคุมไม่ต้องมีอะไรเลยนอกจาก SSH client :D ด้วยวิธีนี้ผมก็ไม่ต้องเปิดพอร์ต6000/TCP เพราะ x2x เชื่อมเข้า :0.0 ตรงๆ โดยไม่ผ่านชั้นของเครือข่าย จึงไม่ต้องสั่ง xhost ด้วย .. และการเชื่อมต่อทั้งหมดถูกห่อด้วย SSH ซึ่งมีการเข้ารหัสข้อมูลทุกชิ้นจึงไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลรั่วบนเครือข่าย แถมการสั่งงานก็ไมได้ยากอะไรเลย แบบนี้ผมชอบแฮะ :D .. กลับมาดูคอนฟิกของผมอีกที

  • มอนิเตอร์เครื่อง Yggdrasil อยู่ขวามือของ Peorth
  • ใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ของ Peorth
  • ติดตั้ง x2x บน Yggdrasil

การเชื่อมต่อที่เครื่อง Peorth ก็จะสั่งแบบนี้:

ssh -f yggdrasil x2x -to :0.0 -east

ssh ก็จะเชื่อมไปที่เครื่อง Yggdrasil แล้วรันคำสั่ง ‘x2x -to :0.0 -east’ ที่เครื่อง Yggdrasil ผลลัพธ์การทำงานจะถูกส่งกลับผ่าน tunnel ของ SSH ที่เราเชื่อมไปนั่นเอง ออปชัน -f เป็นการสั่งให้ SSH รันเป็น background ดังนั้นเมื่อ SSH เชื่อมต่อไป Yggdrasil ได้สำเร็จก็จะกลับมาที่เชลล์ทันที

เท่าที่ทดลองดูวิธีห่อ x2x ด้วย SSH นี่ได้ผลดีทีเดียว การตอบสนองก็รวดเร็วดี .. ผมลองวัดอย่างหยาบๆ พบว่า ถ้าขยับเมาส์ไม่หยุดจะมันจะส่งข้อมูลเข้าเครือข่ายในอัตราประมาณ 20 กิโลไบต์ต่อวินาที ถ้ากดคีย์บอร์ดค้างก็ใช้ราวๆ 8 กิโลไบต์ต่อวินาที ซึ่งผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่เพราะการใช้งานลักษณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องต้องอยู่ใกล้ๆ กัน (หรืออย่างน้อยจอมอนิเตอร์ก็ต้องอยู่ใกล้ๆ กัน) การเชื่อมต่อก็น่าจะอยู่บนเครือข่ายเดียวกัน อัตราการส่งข้อมูล 20-30 กิโลไบต์ต่อวินาทีจึงไม่ใช่ปัญหา .. ห้องแล็บที่ผมนั่งประจำมีเครือข่ายสามวง สอง ASes ผมลองย้าย Yggdrasil ไปอยู่เครือข่ายอื่นก็ใช้งานได้ไม่มีปัญหา

สรุปตอนนี้ผมก็ไม่จำเป็นต้องใช้ KVM Switcher แล้ว .. มีใครสนใจจะซื้อต่อมั้ยอ่ะ :P

Hello World ด้วย GNU Autotools

เรื่องของเรื่องก็คือ อยากจะหัดใช้ Autotools สักหน่อย .. ง่ายสุดก็ต้องกับโปรแกรม Hello World นี่ล่ะ :D

แนะนำ GNU Autotools

ปกติแล้ว ถ้าเราเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซีบนลินุกซ์หรือยูนิกซ์โดยที่โปรแกรมมีซอร์สไม่กี่ไฟล์ เราสามารถสั่งคอมไพล์ด้วยคำสั่ง cc หรือ gcc ได้ไม่ยาก แต่ถ้าโปรแกรมมีความซับซ้อนมากขึ้น มีหลายโมดูล แยกเป็นหลายไดเรกทอรี การสั่ง cc/gcc เพื่อ build โปรแกรมจะเริ่มยุ่งยากขึ้น วิธีที่สะดวกกว่าโดยทั่วไปก็คือเขียน Makefile ขึ้นมา ซึ่งช่วยให้การ build โปรแกรมทำได้โดยสั่ง make

อย่างไรก็ตาม การเขียน Makefile สำหรับโครงการซอฟต์แวร์ใหญ่ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก และบ่อยครั้งจะมีปัญหาว่าไม่สามารถนำ Makefile ที่เขียนสำหรับ build บนแพลตฟอร์มนึงไปใช้งานบนแพลตฟอร์มอื่นได้ แม้จะเป็นระบบที่ใกล้เคียงหรือเป็นยูนิกซ์เหมือนกันก็ตาม เหตุก็เพราะเงื่อนไขในการ build โปรแกรมบนแพลตฟอร์มต่างๆ มักไม่เหมือนกัน การ build ซอฟต์แวร์ตัวเดียวกันบนแพลตฟอร์มต่างกันจึงมักต้องใช้ Makefile ที่ต่างกันตามไปด้วย

จากปัญหาดังกล่าวจึงมีการพัฒนาเทคนิควิธีต่างๆ เพื่อทำให้ซอฟต์แวร์สามารถพอร์ตไปใช้บนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ง่ายขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ GNU Autotools .. ด้วยกลไกของ Autotools นักพัฒนาซอฟต์แวร์มีหน้าที่ระบุเงื่อนไขที่จำเป็นในการ build ซอฟต์แวร์นั้นๆ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องของแพลตฟอร์ม Autotools มีชุดเครื่องมือในการสร้าง Makefile ให้สำหรับแพลตฟอร์มนั้นๆ อัตโนมัติ ทำให้ซอฟต์แวร์สามารถพอร์ตไปใช้งานต่างแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้น

ปัจจุบันมีการใช้งาน Autotools กันอย่างแพร่หลายบนลินุกซ์และยูนิกซ์ อย่างที่เรามักจะเห็นขั้นตอนการติดตั้งซอฟต์แวร์โดยสั่ง ./configure; make; make install นั่นก็เป็นผลของ Autotools เหมือนกัน เพราะสคริปต์ configure โปรแกรมไหนๆ ก็สร้างมาจาก Autotools เกือบทั้งนั้น

มาดูกันสักหน่อยว่า Autotools ประกอบด้วยอะไรบ้าง

เครื่องมือ

เครื่องมือของ GNU Autotools หลักๆ ประกอบด้วย autoscan aclocal autoconf autoheader และ automake แต่ละตัวใช้สร้างไฟล์ที่จำเป็นในการ build ซอฟต์แวร์ และมีความสัมพันธ์กันดังที่แสดงในภาพ

จะเห็นได้ว่า นอกจากซอร์สโปรแกรมแล้ว ในขั้นต่ำสุดมีเพียง Makefile.am และ configure.in (หรือ configure.ac) เท่านั้นที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องเขียนเอง ที่เหลือ Autotools สามารถสร้างให้เองอัตโนมัติ

aclocal ทำหน้าที่ในการหามาโครที่จำเป็นต้องใช้จาก configure.in สร้าง เอาต์พุตเป็น aclocal.m4 หากมีไฟล์ acinclude.m4 (user-defined macro) ก็จะถูกรวมเข้าไปด้วยในขั้นตอนนี้ ไฟล์ aclocal.m4 นี้จะเป็นอินพุตสำหรับ autoconf และ autoheader ต่อไป

autoconf ทำหน้าที่สร้างสคริปต์ configure จาก configure.in และ aclocal.m4 .. configure เป็นสคริปต์ที่ใช้ตรวจสอบระบบตามเงื่อนไขและสร้าง Makefile ที่เหมาะสมกับระบบนั้นอัตโนมัติ การสร้าง Makefile นั้น สคริปต์ configure ต้องการไฟล์สำคัญอีกตัวคือ Makefile.in ซึ่งสร้างจาก Makefile.am โดย automake

เครื่องมืออีกตัวคือ autoheader ใช้สร้าง config.h.in ซึ่งเป็นเท็มเพลตของ header ที่ configure จะเอาไปใช้งานอีกที

ลองมาดูตัวอย่างการใช้ Autotools กับโปรแกรมยอดฮิต Hello World!

Hello World Project

ก่อนอื่นสร้างไดเรกทอรีสำหรับโครงการก่อน ไฟล์ทั้งหมดในโครงการจะเก็บไว้ในไดเรกทอรีเดียวกันนี้

ไฟล์แรกที่ต้องเขียนก่อนก็คือซอร์สของ hello.c

#include <stdio.h>
int main() {
    printf("Hello world !");
    return 0;
}

แล้วก็เขียน configure.in อย่างง่ายๆ ประกอบด้วย

AC_INIT(hello.c)
AM_INIT_AUTOMAKE(hello,0.1)
AC_PROG_CC
AC_PROG_INSTALL
AC_OUTPUT(Makefile)

AC_INIT เป็นบรรทัดบังคับที่ต้องมีและต้องเป็นมาโครแรกของ configure.in เสมอ AM_INIT_AUTOMAKE ก็เป็นอีกหนึ่งบรรทัดที่จำเป็นต้องมีเมื่อต้องใช้งาน automake ส่วน AC_PROG_CC และ AC_PROG_INSTALL เป็นการระบุโปรแกรมที่ต้องการใช้งาน ในที่นี้คือ C compiler และโปรแกรม install บรรทัดสุดท้ายเป็นการระบุให้สคริปต์ configure สร้างผลลัพธ์เป็น Makefile

ได้ configure.in เรียบร้อยแล้ว ก็มาเขียน Makefile.am กัน … อย่างง่ายๆ ก็มีเพียงสองบรรทัด ระบุโปรแกรมที่จะ build และซอร์สของโปรแกรม

bin_PROGRAMS = hello
hello_SOURCES = hello.c

ขั้นตอนการสร้างสคริปต์ configure ก็มีเพียง

aclocal
autoconf
touch NEWS README AUTHORS ChangeLog
automake --add-missing

บรรทัดที่สามอาจจะดูประหลาดกว่าเพื่อน และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ Autotools คำสั่ง touch ใช้ในการแก้ไข timestamp ของไฟล์ แต่เราสามารถนำมาใช้สร้างไฟล์ dummy (ขนาดเป็น 0 byte) ได้ด้วย ในตัวอย่างนี้ใช้ touch สร้าง dummy ไฟล์ชื่อ NEWS README AUTHORS ChangeLog ตามลำดับ ทั้งสี่ไฟล์ไม่มีข้อมูลอะไรเลย แต่ที่ต้องสร้างไว้เพราะ automake จะตรวจหาไฟล์เหล่านี้ขณะทำงาน ถ้าไม่พบไฟล์ทั้งสี่ก็จะเกิด error ขึ้น .. ในภายหลังเราอาจจะแก้ไขไฟล์เหล่านี้เพื่อเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ตอนนี้ทำเป็นอย่างนี้ไว้ก่อน

ออปชัน --add-missing ที่ใส่ให้กับ automake เป็นการบอกให้ automake สร้างไฟล์ที่ขาดไปอัตโนมัติ เสร็จขั้นตอน automake แล้วเราก็พร้อมที่จะ build โปรแกรม Hello World กัน

./configure
make
make install

ที่จริงแล้ว Makefile ที่สร้างโดยสคริปต์ configure จะเตรียมกฏในการ make ไว้ให้อีกหลายตัว เช่น

make uninstall
make clean
make maintainer-clean
make distclean
make dist
make distcheck

ทั้งหมดนี่ก็เป็นตัวอย่างง่ายๆ ในการใช้ GNU Autotools .. รายละเอียดของ Autotools ยังมีอีกเยอะมาก เรายังไม่ได้ลองใช้ autoscan และ autoheader กันเลย การพัฒนาโครงการซอฟต์แวร์ในทางปฏิบัติยังมีรายละเอียดอีกพอสมควร อย่างเช่น การจัดไดเรกทอรี และการทำไลบรารี เอาไว้วันหลังจะมาเล่าให้ฟัง


Reference

  1. เทพพิทักษ์ การุณบุญญานันท์, แนะนำ GNU autotools, ประชุมเชิงปฏิบัติการ “การใช้ Development Tool เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์บนลีนุกซ์“, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สิงหาคม 2546
  2. G. V. Vaughan, B. Elliston, T. Tromey and I. L. Taylor, “GNU Autoconf, Automake, and Libtools“, http://sources.redhat.com/autobook/