Tokyo Marathon 2017

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พาผู้จัดงานมาราธอนในเมืองไทยไปร่วมงาน Tokyo Marathon Expo 2017 ที่ญี่ปุ่นเพื่อช่วยประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักวิ่งญี่ปุ่นและต่างชาติไปวิ่งที่ประเทศไทย โดยนำผู้จัด Khon Kaen International Marathon, Chiang Mai, Laguna Phuket, Pattaya, BDMS Bangkok, Amari Charity ไปร่วมงาน ระหว่างวันที่ 23 – 26 กุมภาพันธ์ 2017

Tokyo Marathon เป็นหนึ่งในหก World Marathon Majors (Berlin, Boston, Chicago, London, New York, Tokyo) เป็นรายการ tier สูงสุดแล้วสำหรับนักวิ่งมาราธอน ถ้านับงานมาราธอนใหญ่ของโลกนอกจากหกรายการ majors นี้ก็จะมีอีกเพียงสองรายการเท่านั้นคือ IAAF World Championships in Athletics และ Summer Olympic Games

Tokyo Marathon เป็น majors รายการเดียวที่จัดในเอเชียทุกปี รวมถึงเป็นรายการคัดตัวเพื่อไปวิ่งรายการใหญ่ ๆ ของญี่ปุ่นและของโลกด้วย

Tokyo Marathon จัดพื้นที่วิ่งไว้ 35,500 ที่สำหรับระยะ 42.195 กม. และ 5,000 สำหรับระยะ 10 กม. มีผู้สนใจสมัครราว ๆ 3-4 แสนคนทุกปี จึงต้อง random ในการให้สิทธิวิ่ง การจัดการเรียบร้อยเป็นระเบียบสมกับเป็นญี่ปุ่น มีความยิ่งใหญ่สมเป็น World Marathon Majors และมีความเป็นมาตรฐานมีความปลอดภัยสูงมากสมกับเป็นรายการแข่งขัน

ปีนี้ Tokyo Marathon ใช้คำว่า “The Day We Unite” ชวนให้คนท้องถิ่นมีส่วนร่วมและรวมเป็นหนึ่งเดียว

Runner Registration

นักวิ่งต้องนำใบลงทะเบียนมาที่งาน ที่ gate เข้าพื้นที่รับ runner kit จะคัดกรองคนโดยใบลงทะเบียน และให้เฉพาะเจ้าตัวเท่านั้นที่มีสิทธิเข้า เมื่อเข้าไปจะต้องแสดงตนด้วย Photo ID ก่อน แล้วจึงรับ bib, chip และ security wristband ที่เคาน์เตอร์ สุดท้ายคือรับ swag bag ของ runner จากนั้นจะโดนต้อนเข้าพื้นที่ General Visitors

General Visitors

ประกอบด้วยงานนิทรรศการ เกี่ยวกับการวิ่ง ข้อมูลการวิ่ง ข้อมูลการจัดงาน ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับนักวิ่ง แผนที่ โปรไฟล์ระดับความสูง ผังพื้นที่ปล่อยตัว จุดฝากของ จุดรับของ รางวัล finisher kit volunteer kit ฯลฯ ละเอียดและเป็นระเบียบมากๆ บูธสปอนเซอร์ทางการ Tokyo Metro ขายบัตรรถไฟ 24 ชั่วโมง สำหรับงาน Tokyo Marathon โดยเฉพาะ / Asahi แจกเบียร์ไร้ alc. / Pocari แจกเครื่องดื่ม / Shiseido แจกครีมกันแดด Anessa / Seiko ขายนาฬิกา / ธนาคารขายประกันอุบัติเหตุ / Kagome / 7-Eleven / BMW เอารถ i3 ที่เป็นรางวัลสำหรับผู้ชนะมาโชว์ / มูลนิธิ Tokyo Marathon จำหน่ายสินค้าลิขสิทธิ์ คนไปซื้อกันเยอะมากกกกกก ต่อคิวจ่ายตังจนล้นบูธ พ้นส่วนนิทรรศการ ก็จะถูกต้อนเข้าส่วน Expo

Tokyo Marathon Expo

เป็นโซนขายของและประชาสัมพันธ์ บูธใหญ่ ๆ Asic, GW-X, Garmin, ยี่ห้อทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศเยอะมาก ขายเสื้อ เครื่องแต่งกาย รองเท้า เจล อาหารเสริม accessories การท่องเที่ยวญี่ปุ่นก็มาเปิดหลายบูธ รายการวิ่งของจีน ไต้หวัน เบอร์ลิน ก็มาเปิดบูธประชาสัมพันธ์ พื้นที่รวม ๆ เฉพาะ Expo น่าจะเยอะกว่า Plenary Hall ของ ศูนย์สิริกิติ์ นักวิ่งและ visitor จะถูกต้อนเข้า Expo ทุกคน และเดินกลับไว ๆ ก็จะผ่านอย่างน้อย 60% ของบูธทั้งหมด

26-02-2017 Tokyo Marathon 2017

อากาศดี ท้องฟ้าโปร่ง อุณหภูมิ ~ 8 – 9 องศา

  • 9:05 ปล่อยตัว wheel chair runners (42.195 และ 10 กม.)
  • 9:10 ปล่อยตัวนักวิ่ง (42.195 และ 10 กม.)
  • 10:50 cut off ของ ระยะ 10 กม.
  • 16:10 cut off ของ ระยะ 42.195 กม.

บุคคลทั่วไปจะถูกกันจากพื้นที่ปล่อยตัว (Shinjuku) และเส้นชัย (Tokyo Station)  จะมีเฉพาะนักวิ่ง อาสาสมัคร ผู้ได้รับอนุญาตเท่านั้น ส่วนคนทั่วไปจะเชียร์ที่ไหนก็ได้ตามเส้นทางวิ่ง

เส้นทางวิ่งถือว่าเป็นการวิ่งในเมืองที่น่าวิ่ง ผ่านจุดท่องเที่ยวหลายจุด และจุดท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ก็จะมีกองเชียร์กองใหญ่ออกมาให้กำลังใจ แต่ถึงจะไม่ใช่จุดท่องเที่ยวคนท้องถิ่นออกมาเชียร์เยอะมาก นักวิ่งที่ random ไม่ได้ก็มาเชียร์เพื่อน แทบไม่มีที่ว่างให้ยืน ผู้จัดงานจะมี พัด ลูกโป่ง ธงมาแจกคนทั่วไปที่มายืนเชียร์ตลอดสองข้างทาง ริมถนนมีอาสาสมัครยืนถือเทปกันสองข้างถนน ตำรวจปิดถนนเส้นทางวิ่งจริงจังมาก ๆ เอารถบัสมากั้น จราจรช่วย divert ตามแยก จุดกลับตัวกั้นรั้วชัดเจน การปิดถนนจะเป็นช่วงเวลา ไม่ได้ปิดตลอดเส้นตลอดเวลา ก็ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนประมาณหนึ่ง

พวกเราที่มาเชียร์นักวิ่งมายืนใกล้สถานี Shinjuku ห่างจากจุดปล่อยตัวราว ๆ กิโลกว่า ๆ รถตำรวจวิ่งนำ รถถ่ายทอดตาม นักวิ่งกลุ่มนำ แล้วก็ตามด้วยนักวิ่งกลุ่มใหญ่จำนวนมหาศาล เต็มถนน 8 เลน ยืนอยู่เกือบชั่วโมงนักวิ่งถึงจะเริ่มบางตาลงไปบ้าง มีนักวิ่งต่างชาติเยอะ นักวิ่งไทยก็มี แฟนซีก็เยอะ มีสีสัน เสียงเชียร์สองข้างทางดังไม่หยุดตั้งแต่ wheel chair ผ่านจนเราก็กลับ บรรยากาศสนุก การมีส่วนร่วมของคนในเมืองดีมาก ๆ

นักวิ่งที่ชนะรายการนี้ เป็นไปตามคาดคือ Wilson Kipsang สถิติ 2:03:58 ชม.

Technologies

ในงานมีการใช้เทคโนโลยีมากมาย และคิดว่าเทคโนโลยีในงานนี้บางอย่างจะได้เอาไปใช้ใน Olympic 2020 ด้วย เท่าที่เห็นฝั่งจับเวลาใช้ RFID timing สืบมาว่าเป็นของ Active Networks | IPICO ใช้ chip ตัวเดียว แบบ active ร้อยเชือกรองเท้า ตัว reader วางราบกับพื้นให้เหยียบผ่าน เป็นระบบ dual band แม่นมาก ผิดพลาดน้อยมาก / ระบบลงทะเบียนจะให้  security wristband  (น่าจะเป็น passive RFID) ในการยืนยันตัวตนแทนเอกสาร เพราะวันวิ่งจริง ๆ นักวิ่งจะไม่สะดวกพกเอกสารสำคัญ (ในคำแนะนำนักวิ่งเขียนว่า ให้พกมือถือ เครื่องดื่ม แค่นี้พอ ที่เหลือไปฝากไว้ที่จุดรับฝากของ) / การรักษาปลอดภัยใช้เทคโนโลยี face recognition, security drone / Konica เอาผลจาก check point มาเชื่อมกับ Facebook / Twitter ออก unofficial report พร้อมคัด posts, tweets, likes, etc. ที่สั่งพิมพ์ตาม Kiosk ของ Konica ได้ (เป็นอันที่ CMU พัฒนาเลียนแบบและจะใช้ใน KKIM + CMU Marathon

Next ?

ในช่วงทำงานเราได้เห็นแบบอย่างการจัดงานมาราธอนระดับโลก และการจัดการที่เป็นมาตรฐาน คุณภาพของคนทำงานที่สูง พวกเราในฐานะผู้จัดพูดคุยแลกเปลี่ยนและเกิดไอเดียที่น่าสนใจหลายเรื่อง  หลังจากนี้ ททท. อาจจะมีโครงการดี ๆ สำหรับนักวิ่งไทยร่วมกับรายการวิ่งระดับมาราธอนของไทย

และที่แน่ ๆ

KKIM กับพันธมิตรจะมีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาไปในทางที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปแน่นอน

พบกัน KKIM#15 – 28-01-2018 @ KKU