Creative Common License

Creative Common License เป็นสัญญาอนุญาตอีกแบบที่เห็นบ่อยครั้งขึ้นในระยะหลังๆ นอกเหนือจาก GPL, BSD, MIT,ฯลฯ .. มักจะปรากฏกับงานสร้างสรรค์ทางศิลปะเช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ดนตรี ภาพยนตร์ ที่เผยแพร่บนเว็บ เหตุก็เเพราะมันช่วยให้เจ้าของงานสามารถเผยแพร่งานได้ ให้โอกาสผู้อื่นเผยแพร่งาน ใช้ประโยชน์จากงานตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยยังคงรักษาสิทธิ์ในผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลังไว้กับเจ้าของงาน ได้ อาจจะพอเรียกได้ว่ามันอยู่ตรงกลางระหว่าง ลิขสิทธิ์ทั่วไปไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของงานมีสิทธิ์ใช้หรือเผยแพร่ งานโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์ก็ให้อิสระมากเกินไปจนเจ้าของงานอาจเสียผล ประโยชน์ที่ควรจะได้

Key Features

กลไกของ Creative Common License ก็คือการแบ่งสิทธิออกเป็นข้อๆ และให้เจ้าของงานเลือกได้ว่าจะคุ้มครองสิทธิ์แต่ละข้ออย่างไร ช่วยให้เจ้าของงานสามารถเผยแพร่งานได้สะดวกขึ้น เป็นไปอย่างที่ตัวเองต้องการมากขึ้น .. Creative Common License ระบุเงื่อนไขได้ทั้งหมดสี่อย่าง ประกอบด้วย

  1. Attribution: ผู้ใช้จะต้องระบุที่มาของงานว่าต้นฉบับเป็นของใคร
  2. Noncommercial: ห้ามใช้ทางการค้า
  3. No Derivative works: ห้ามแก้ไขต้นฉบับ
  4. Share Alike: ถ้ามีการแก้ไขต้นฉบับ (a.k.a สร้าง derivative works) ต้องเผยแพร่ด้วยสัญญาอนุญาตเดิม

เงื่อนไข สี่ข้อนี้ผสมสัญญาอนุญาตที่สมเหตุสมผลได้ทั้งหมด 11 แบบ เพราะเจ้าของงานเลือกการคุ้มครองได้นี่เอง Creative Common License จึงมักจะใช้คำว่า “Some rights reserved” ซึ่งหมายถึงสิทธิบางอย่างได้รับการคุ้มครองด้วยสัญญาอนุญาตนี้ แทนที่จะเป็น All rights reserved เหมือนการระบุลิขสิทธิ์ทั่วไปที่สิทธิ์ทุกอย่างอยู่ที่เจ้าของงานเป็นหลัก

ที่เจ๋งก็คือสัญญาอนุญาตของ Creative Common License เขียนออกมาได้สามแบบที่มีความหมายเทียบเท่ากันกัน คือ

  1. Human-Readable Common Deed ภาษาสำหรับคนทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าให้และห้ามอะไร
  2. Lawyer-Readable Legal Code ภาษาสำหรับนักกฏหมายอ่านแล้วเข้าใจข้อตกลง มีผลและนำไปใช้ทางกฏหมายได้
  3. Machine-Readable Digital Code รหัสสำหรับคอมพิวเตอร์ i.e., search engine

ทีนี้ เวลาเผยแพร่งานบนเว็บ search engine ก็จะรู้่จาก digital code ได้ว่าเราเผยแพร่งานแบบไหน ผู้ใช้ก็ค้นหาได้ง่ายขึ้น เมื่อเห็นตัวงานแล้วก็สามารถดูจาก common deeds ได้ว่าเราให้และห้ามอะไร และในทางกฏหมายก็สามารถนำ legal code ไปใช้งานได้ด้วย .. ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่าง digital code หลังจากเลือกสัญญาอนุญาตแล้ว

<!--

<rdf:RDF xmlns="http://web.resource.org/cc/"
    xmlns:dc="http://purl.org/dc/elements/1.1/"
    xmlns:rdf="http://www.w3.org/1999/02/22-rdf-syntax-ns#">
<Work rdf:about="">
   <dc:type rdf:resource="http://purl.org/dc/dcmitype/StillImage" />
   <license rdf:resource="http://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/2.0/" />
</Work>

<License rdf:about="http://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/2.0/">
   <permits rdf:resource="http://web.resource.org/cc/Reproduction" />
   <permits rdf:resource="http://web.resource.org/cc/Distribution" />
   <requires rdf:resource="http://web.resource.org/cc/Notice" />
   <requires rdf:resource="http://web.resource.org/cc/Attribution" />
   <prohibits rdf:resource="http://web.resource.org/cc/CommercialUse" />
   <permits rdf:resource="http://web.resource.org/cc/DerivativeWorks" />
   <requires rdf:resource="http://web.resource.org/cc/ShareAlike" />
</License>

</rdf:RDF>

-->

The Others

นอกจากจะระบุเงื่อนไขหลักๆ ทั้งสี่อย่างได้แล้ว Creative Common License ยังมีสัญญาอนุญาตอื่นๆ สำหรับใช้งานเฉพาะด้านด้วย เช่น

  • Developing Nations license เปิดโอกาสให้ใช้งานอย่างอิสระสำหรับประเทศกำลังพัฒนาตราบใดที่อ้างอิงที่มา ของงาน และห้ามนำงานไปใช้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เจตนาก็เพื่อให้ประเทศที่กำลังพัฒนาได้เผยแพร่งานอย่างเต็มที่ โดยไม่ถูกประเทศพัฒนาแล้วเอาเปรียบ
  • Sampling license สำหรับนำ ‘บางส่วน’ ของงานไปทำต่อ เช่นตัดบางส่วนของเพลง วิดีโอ ไปใช้ สัญญาอนุญาตนี้มีสามแบบคือ Sampling เฉยๆ ใช้งานได้ ยกเว้น advertising ไม่อนุญาตให้สำเนาและเผยแพร่ทั้งหมดของงาน .. Sampling Plus เหมือน Sampling และอนุญาตสำเนาเผยแพร่ทั้งหมดของงานได้หากไม่ใช่เพื่อการค้า และสุดท้ายคือ Noncommercial Sampling Plus อนุญาดให้ใช้บางส่วนของงานถ้าไม่ใช่การค้า และอนุญาตให้สำเนาเผยแพร่ทั้งหมดของงานได้ถ้าไม่ใช่การค้า
  • Founders’ Copyright ใช้กำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการคุ้มครอง แทนที่จะให้คุ้มครองโดยกฏหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งคุ้มครองไปจนกว่าเจ้าของจะเสียชีวิต + 70 ปี (note: +70 ปีตามกฏหมายสหรัฐ .. พรบ.ลิขสิทธิ์ของไทย ให้ +50 ปี หรือ +25 ปีแล้วแต่กรณี) .. Creative Common เปิดโอกาสให้เจ้าของงานได้รับการคุ้มครองโดยใช้ Founders’ Copyright ที่มีใจความใกล้เคียงกับการคุ้มครองตามกฏหมายลิขสิทธิ์ แต่มีระยะเวลาในการคุ้มครองน้อยกว่า คือเริ่มต้นที่ 14 ปี และอนุญาตให้ต่ออายุได้อีก 14 หรือ 28 ปี
  • CC-GPL กับ CC-LGPL GNU GPL และ LGPL ตามลำดับ มี common deed legal code และ digital code กำกับไว้ ช่วยให้ใช้งานได้สะดวกอีกนิดนึง เช่นใช้ search engine หาได้ว่า ‘งานไหนเผยแพร่ด้วย GPL บ้าง?’ เป็นต้น
  • Music Sharing License อนุญาตให้สำเนา แลกเปลี่ยน เผยแพร่ได้ ตราบใดที่ไม่ทำในเชิงการค้า โดยรวมแล้วเทียบเท่าสัญญาอนุญาตแบบ Attribute – Non Commercial – Non Derivative

Should I ?

การเลือกใช้สัญญาอนุญาตแบบใดแบบ นึงขึ้นกับเจตนาว่าเราต้องการเผยแพร่งานของเราอย่างไร ลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองงานโดยผูกขาดสิทธิ์ทุกอย่างกับเจ้าของงานเพียงผู้ เดียว ส่วนสัญญาอนุญาตที่นิยมใช้หลายๆ ตัวจะเน้นเรื่องการเผยแพร่ซอฟต์แวร์

Creative Common License มีความยืดหยุ่น อีกทั้งมีกลไกที่ช่วยให้เข้าใจและเข้าถึงงานได้ง่ายขึ้น จึงเป็นอีกทางเลือกนึงที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่อยากจะเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อออนไลน์