2015 leap second

อ้างอิงจาก IERS :

A positive leap second will be introduced at the end of June 2015.

Leap second (ภาษาไทย: อธิกวินาที) เป็นการชดเชยเวลา ระหว่างการวัด 1 วันของ เวลาตามนาฬิกาที่เราใช้ (24 * 60 * 60 = 86400 วินาที/วัน) กับ mean solar time ซึ่งวัดตามนิยามหมุนรอบตัวเองของโลกครบ 1 รอบ

ทีนี้ การหมุนรอบตัวเองของโลกมันไม่ได้ลงตัวที่ 86400 วินาทีทุกวันหรอก มันเป็นการหมุนของวัตถุเหมือนๆ กับลูกข่างที่เรียนในฟิสิกส์นั่นแหละ มันเปลี่ยนแปลงได้ถ้ามีแรงมาบวกหรือลบ moment of inertia และก็พบกันว่า แรงเสียดทานจากกระแสน้ำ แผ่นดินไหว สึนามิ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และอื่นๆ มีผลกับการหมุนของโลก บางทีก็หมุนเร็วขึ้น บางทีก็หมุนช้าลง IERS กับหลายๆ หน่วยงานจึงบันทึกการหมุนของโลก (เทียบจาก solar noon / reference quasar(s) ที่ตำแหน่งเดียวกันบนโลก) และวัดเทียบกับ atomic clock แล้วเอามาชดเชยเวลาตามนาฬิกาให้ใกล้เคียงกับ mean solar time

A Year of Goat

IMG_7303.JPG

ได้ปฏิทินมาจากสถาบันขงจื่อ มข. อ่านออกแค่สามตัวแรก(三 สาม 羊 แพะ 开 เริ่ม/เปิด)  เลยไปค้นๆ คำนี้ดู

ประโยค 三羊开泰 แปลได้ความประมาณ ‘สามแพะนำความรุ่งเรือง/ยิ่งใหญ่’ ใช้เป็นคำอวยพรและใช้รูปแพะ(สามตัว)ประกอบอย่างที่เห็น ที่มาของประโยคนี้จริงๆ มาจากประโยค 三阳开泰 หรือ 三陽开泰 ในตำราอี้จิง (易经) ทั้งนี้ อักษร 羊 และ 阳/陽 (พระอาทิตย์) อ่านออกเสียง หยาง เหมือนกัน ในปีแพะเลยใช้รูปแพะแทน

ในตำราอี้จิง 三陽 หมายถึง ‘สาม(พลัง)หยาง ตรงกับสัญลักษณ์ ䷊ (☰  ฟ้า/☷  ดิน) เรียกว่า 泰 ตามตำรา หมายถึง สงบสุข ยิ่งใหญ่ คำว่า 三陽开泰 จึงแปลได้ว่า ‘สาม(พลัง)หยางนำความสงบสุข’

ตามตำรา三陽 ยังหมายถึงเดือนสาม (กุมภาพันธ์ ตามปฏิทินจีน) ซึ่งตรงกับวันตรุษของจีนด้วย จึงเป็นอีกเหตุหนึ่งที่มักใช้ 三羊开泰 / 三阳开泰 อวยพรวันปีใหม่ นัยว่า ‘ฤกษ์ดีปีใหม่’ ล่ะจ้ะ